อะไรมีผลต่อการซื้อผ้าไหมของชาวต่างชาติ

การท่องเที่ยวถือเป็นส่วนสำคัญที่ทำรายได้ให้กับประเทศไทยเป็นอันดับต้นๆในแต่ละปี โดยพบนักท่องเที่ยวมีการใช้จ่ายส่วนหนึ่งเพื่อซื้อของที่ระลึกไม่น้อยทีเดียวในแต่ละปี ซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้แก่ผู้ผลิต และร้านค้าผู้จำหน่าย


สินค้าด้านสิ่งทอก็เป็นผลิตภัณฑ์หนึ่งที่มีการเลือกซื้อจากนักท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์สิ่งทอจากไหม ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่ม และของชำร่วยต่างๆ แต่ทั้งนี้ ก็มีเพียงผลิตภัณฑ์บางชนิดที่เป็นที่นิยม และมีบางชนิดที่ไม่เป็นที่นิยมของชาวต่างชาติเช่นกัน ซึ่งจากการศึกษาของนักวิจัย พบมีปัจจัยหลายด้านที่มีผลต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทยของชาวต่างชาติ ซึ่งประกอบด้วยปัจจัยต่างๆ ดังนี้

1. ราคาสินค้า  พบมีผลมากที่สุดในการตัดสินใจ ภายใต้ลักษณะของคุณภาพผลิตภัณฑ์ นั่นหมายความว่าถึงแม้ราคาสินค้าจะสูงแต่นักท่องเที่ยวก็สามารถตัดสินใจเลือกซื้อหากมีคุณภาพสินค้าที่ดีพอ ต่างกับคุณภาพสินค้าไม่ดีพอแต่มีราคาสูงมักจะขายไม่ออกตามมา

2. คุณภาพสินค้า ถือเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดควบคู่ไปกับราคาสินค้า ซึ่งชาวต่างชาติมักพิจารณาก่อนตัดสินใจเลือกซื้อ โดยพิจารณาในด้านต่างๆ ได้แก่
   - ความปราณีต ที่สามารถสังเกตุได้ลักษณะของผลิตภัณฑ์ได้ด้วยตา และการสัมผัส ถือเป็นจุดที่ไม่สามารถปิดบังได้
   - ความคงทน ลักษณะนี้อาจเป็นที่สังเกตุยาก แต่หากเมื่อนักท่องเที่ยวซื้อไปแล้วมีการใช้สักระยะแล้วไม่มีความคงทนในด้านการซัก สีซีด ขาดรุ่ยง่าย หักงอง่าย เมื่อนั้นนักท่องเที่ยวมักจดจำ และไม่ซื้อผลิตภัณฑ์จากแหล่งดังกล่าวอีก ซึ่งผู้ผลิต และผู้จำหน่ายควรตะหนักให้มากเป็นพิเศษ

3. ประเภทร้านค้า พบนิยมเลือกซื้อสินค้าในร้านค้าที่มีผลิตภัณฑ์เฉพาะเจาะจงหรือเป็นร้านที่ผลิต และขายสินค้านั้นๆโดยเฉพาะ

4. ชนิดการทอผลิตภัณฑ์ พบมีความนิยมผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการทอมือมากกว่าเครื่องจักร เหตุผลในด้านความปราณีต ความเป็นเอกลักษณ์ หายาก และรู้สึกว่าผลิตภัณฑ์มีคุณค่าจากการทำผลิตภัณฑ์ด้วยมือ

5. ชนิดผลิตภัณฑ์ มักพบการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ผ้าทอด้วยมือประเภทผ้าพื้น ชุดสำเร็จรูป และของชำร่วยมากกว่าผลิตภัณฑ์ผ้าพิมพ์ลาย

6. บรรจุภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์บางร้านหากไม่มีการบรรจุด้วยบรรจุภัณฑ์จะมีผลต่อการตัดสินใจของผู้ซื้อ หากมีบรรจุภัณฑ์พร้อมรายละเอียดผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ชื่อผลิตภัณฑ์ วัสดุที่ใช้ ผู้ผลิต และที่อยู่ ส่วนนีร้สามารถทำให้ผู้ซื้อตัดสินใจเลือกซื้อได้ง่ายขึ้น

7. การรับรองคุณภาพสินค้า สำหรับผลิตภัณฑ์ไหมมีหน่วยงานภาครัฐที่ให้การรับรอง คือ กรมหม่อนไหม ภายใต้เครื่องหมายการรับรอง ตรานกยูงพระราชทาน

8. ความหลากหลายของสี และขนาดผลิตภัณฑ์ พบนิยมเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีความหลายหลายของสี และขนาดที่มีให้เลือกมากกว่าผลิตภัณฑ์ที่มีเพียงสีเดียวหรือมีเพียงขนาดเดียว

9. เพศของนักท่องเที่ยว เพศของนักท่องเที่ยวมีผลต่อการเลือกซื้อชนิดของผลิตภัณฑ์ เพศชายมักเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ผ้าไหมสำเร็จรูปมากกว่าการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์จากของชำร่วยหรือที่ระลึก

ผู้ที่ยังไม่เคยซื้อสินค้าจะให้ความสำคัญกับบรรจุภัณฑ์ และป้ายข้อมูลฉลาก ซึ่งมีผลต่อการตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญกับเอกสารรับรองคุณภาพสินค้ามากกว่าผู้ที่เคยซื้อสินค้า ซึ่งเป็นไปตามนิสัยผู้บริโภค คือ ต้องการความมั่นใจ และการรับรองผลิตภัณฑ์ที่เชื่อถือได้

สำหรับผู้ทมี่เคยซื้อผลิตภัณฑ์นอกจากจะให้ความสำคัญกับปัจจัยต่างๆที่กล่าวมาแล้ว ยังให้ความสำคัญมากกับการบริการของผู้ขายหรือพนักงานเช่นกัน

การตัดแต่งกิ่ง และบำรุงรักษาต้นหม่อน

การขยายพันธุ์ของต้นหม่อนปัจจุบันใช้วิธีการขยายพันธุ์ด้วยการปักชำกิ่ง โดยการเลือกกิ่งแก่ยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตร ปักชำลงดิน ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 1 ปี ในการเจริญเติบโต และพร้อมในการเก็บใบสำหรับเลี้ยงหม่อน ทั้งนี้ กระบวนการเก็บใบหม่อนจำเป็นต้องใช้การจัดการ และการตัดแต่งกิ่งเข้าร่วมด้วยเพื่อให้ต้นหม่อนเจริญเติบโต และให้ใบที่มีคุณภาพในแต่ละช่วงการเก็บใบ ดังนี้

1. การเก็บ และตัดกิ่งช่วงการเจริญเติบโต
ในช่วงการเจริญเติบโตของปีแรก ให้ทำการเก็บใบจากกิ่งที่เจริญเติบโตหรือหากยังไม่มีการเลี้ยงไหมให้ตัดกิ่งในช่วง 6 เดือนแรก เพื่อให้หน่อแตกกิ่งแรกสำหรับใช้เป็นกิ่งเก็บใบเพื่อใช้เลี้ยงไหม โดยให้สูงจากพื้นประมาณ 30 เซนติเมตร หลังจากนั้นประมาณเดือนที่ 10 เดือน ถึง 1 ปี ตัดกิ่งให้เหลือเพียง 3-5 กิ่ง แบ่งออกจากกอไหม ทั้งนี้ ควรตัดในช่วงเริ่มฤดูฝนเพื่อเริ่มการเก็บใบตลอดช่วงฤดู

2. การเก็บใบหม่อน ครั้งที่ 1
การเก็บใบหม่อนหลังจากตัดกิ่งเลี้ยงใบครั้งแรกประมาณ 2-2 เดือนครึ่ง เพื่อให้ใบแตกออกมากที่สุด และไม่เกิดใบแก่ การเก็บใบให้เก็บใบจากด้านล่างขึ้นบน โดยให้เหลือใบที่ยอดประมาณ 4-5 ใบ ไม่ควรเหลือใบที่ยอดเป็นใบอ่อนหรือน้อยเกินไป

3. การเก็บใบหม่อน ครั้งที่ 2
การเก็บใบหม่อนครั้งที่ 2 ให้เว้นระยะห่างจากครั้งแรกประมาณ 1-1 เดือนครึ่ง ลักษณะการเก็บใบให้เหมือนกับการเก็บใบในครั้งแรก

4. การเก็บใบหม่อน ครั้งที่ 3
การเก็บใบหม่อนครั้งที่ 3 ให้เว้นระยะห่างจากครั้งที่ 2 ประมาณ 1-1 เดือนครึ่งเช่นกัน ในช่วงนี้ให้ทำการตัดกิ่งในช่วงกลางกิ่ง โดยให้มีความสูงประมาณ 80-100 เมตร จากพื้น

5. การเก็บใบหม่อน ครั้งที่ 4
การเก็บใบหม่อนครั้งที่ 4 ให้เว้นระยะห่างจากการตัดกิ่งหรือการเก็บใบหม่อนครั้งที่ 3 ประมาณ 1-1 เดือนครึ่ง

6. การเก็บใบหม่อน ครั้งที่ 5
การเก็บใบหม่อนครั้งที่ 5 ให้เว้นระยะห่างจากครั้งที่ 4 ประมาณ 1-1 เดือนครึ่งเช่นกัน

7. ปล่อยให้ต้นหม่อนพักตัวจนถึงต้นฤดูฝน ก่อนเริ่มการเก็บเกี่ยวอีกครั้งในปีถัดไป

ในช่วงระยะห่างระหว่างการเก็บใบหม่อนแต่ละครั้ง ให้ทำการใส่ปุ๋ย พรวนดิน บริเวณโคนต้นอย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้ แนะนำให้เป็นปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยมูลสัตว์จะดีที่สุด

การเก็บเกี่ยวใบหม่อนในครั้งที่ 4 และ5 อาจอยู่ในช่วงฤดูหนาวจนถึงฤดูแล้ง ซึ่งอาจทำให้เกิดการขาดแคลนน้ำ ดังนั้น การเก็บเกี่ยวดังกล่าวอาจไม่สามารถทำได้ในพื้นที่ขาดน้ำหรือไม่มีพื้นที่ชลประทาน ซึ่งอาจไม่จำเป็นต้องเก็บใบหม่อนในครั้งนี้ก็ได้

การเก็บใบหม่อนในช่วงฤดูหนาว และแล้งที่ขาดน้ำ หรือไม่มีการเก็บในช่วงนี้ รวมไปถึงช่วงที่ปล่อยให้ต้นหม่อนพักตัว ให้นำฟางแห้งหรือเศษใบไม้คลุมบริเวณโคนต้น เพื่อป้องกันการแห้งของดินบริเวณโคนต้น และโดยรอบ

กลุ่มทอผ้า และจำหน่ายผ้าไหม ภาคกลาง

1. บริษัท เผ่าทอง ทองเจือและเพื่อน จำกัด
24 ซ.สุขุมวิท 34 ถ.สุขุมวิท แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพ
โทร. 02-2592506

ผลิตภัณฑ์ :
-ผ้าพื้น 400-600 บาท/เมตร
-ผ้าไหมแก้ว 400-600 บาท/เมตร
เครื่องหมายรับรองมาตรฐานผ้าไหมไทย: นกยูงสีน้ำเงิน

2. บริษัทแก้วหลวง
30/3 หมู่ 16 แสงชูโต ต.ท่าผา อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี
โทร. 032-371504 มือถือ081-5703089
lvang@hotmail.com

ผลิตภัณฑ์ : 
-ผ้าไหม 500-600 บาท/เมตร
เครื่องหมายรับรองมาตรฐานผ้าไหมไทย: นกยูงสีทอง สีเงิน และสีน้ำเงิน

3. บริษัทอาร์ทีดี อุตสาหกรรม จำกัด
79 หมู่ 2 ต.ทุ่งกระถิน อ.เมือง จ.ราชบุรี
โทร.032-322021-3

ผลิตภัณฑ์ :
-ผ้าไหม 500-600 บาท/เมตร
เครื่องหมายรับรองมาตรฐานผ้าไหมไทย: นกยูงสีน้ำเงิน และสีเขียว

4. กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรกรไหมไทย
628 หมู่ 9 ต.หนองขาม อ.หนองหญ้าไซ จ.สุพรรณบุรี
โทร.035-467261

ผลิตภัณฑ์ : 
-ผ้าไหม 250-300 บาท/เมตร

5. บริษัท อุตสาหกรรมไหมไทย จำกัด
153 ซอยพึ่งมี สุขุมวิท 93 แขวงบางจาก เขตพระโขนง กทม 10260
โทรศัพท์ 02-3326530-6,02-3330954-5,02-7424601-10
โทรสาร 02-3330953
อีเมล office@jimthompson.com
http://www.jimthompson.com

ผลิตภัณฑ์ :
-ผ้าไหม
-ผ้าไหมตกแต่ง
-ของชำร่วยผ้าไหม
-เสื้อผ้าสำเร็จรูปผ้าไหม


กลุ่มทอผ้า และจำหน่ายผ้าไหม จ.กำแพงเพชร พิจิตร ตาก และเพชรบูรณ์

จ. กำแพงเพชร

1. ร้านคุ้มไหมเงิน
12 ถ.เทศบาล ต.ในเมือง อ.เมือง จ. กำแพงเพชร
โทร. 089-4616401, 055-721605

ผลิตภัณฑ์ :
-ชุดผ้าไหมสำเร็จรูป 1,400 – 3,800 บาท ขึ้นไป
-ผ้าไหมมัดหมี่ 1,500-2,400 บาท/ 4 หลา
-ผ้าพื้น 1,000 บาท/ 4 หลา
-ผ้าแพรวา 2,500 -2,800 บาท/4 หลา
-กระเป๋า 250 บาท/ใบ
-เนคไท 199-250 บาท
-ผ้าคลุมไหล่ 350-600 ผืน
-เสื้อบุรุษ 800-1,900 บาท

2. ร้านกิ่งไผ่ไหมและฝ้าย
451 ถ.ราชดำเนิน ต.ในเมือง อ.เมือง จ.กำแพงเพชร
โทร. 055-721960

ผลิตภัณฑ์ :
-ชุดผ้าไหมสำเร็จรูป 3,000 บาทขึ้นไป
-ผ้าไหม 1,000-3,000 บาท/4 หลา

3. ร้านอรไพลินผ้าไทย
345/2 ถ.เกศา 2 ต.ในเมือง อ.เมือง จ.กำแพงเพชร
โทร. 089-5674989, 055-713496

ผลิตภัณฑ์ :
-ชุดผ้าไหมสำเร็จรูป 2,000 – 4,500 บาท ขึ้นไป
-ผ้าไหมมัดหมี่ 1,500-2,400 บาท/ 4 หลา
-ผ้าไหมพื้น 1,200-1,800 บาท/ 4 หลา
-เสื้อบุรุษ 1,000-1,900 บาท


จ. พิจิตร

1. ร้านบาหยัน
96/2 ถ.บึงสีไฟ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.พิจิตร
โทร. 056-611709

ผลิตภัณฑ์ :
-ชุดผ้าไหมสำเร็จรูป 1,200 บาท ขึ้นไป
-ผ้าไหมมัดหมี่ 1,200 บาท/4 หลา
-ผ้าพื้น 1,000 บาท/4 หลา
-ผ้าไหมปักลาย 1,200 บาท/4 หลา
-กระเป๋า 250 บาท
-เนคไท 250 บาท
-เสื้อบุรุษ 1,200-1,800 บาท

2. ร้านวนิดาไหมไทย
39/76-77 ต.ในเมือง อ.เมือง จ.พิจิตร
Miny-onusa@hotmail.com
โทร. 056-612311 มือถือ 081-4743132

ผลิตภัณฑ์ :
-ชุดผ้าไหมสำเร็จรูป 1,300-2,500 บาท/ชุด
-ผ้าไหมมัดหมี่ 1,500-15,000 บาท/4 หลา
-ผ้าพื้น 1,000 บาท/4 หลา
-ผ้าไหมปักลาย 1,200 บาท/4 หลา
-ผ้าไหมแพรวา 2,500-10,000 บาท/4 หลา
-ผ้าคลุมไหล่ 2,500-4,000 บาท/4 หลา


จ. ตาก

1. ห้องเสื้ออุษา
24 ถ.มหาดไทยบำรุง ต.หนองหลวง อ.เมือง จ.ตาก
โทร. 055-514304

ผลิตภัณฑ์ :
-ผ้าไหมมัดหมี่ 1,400 บาทขึ้นไป
-ผ้าพื้น 1,200บาท/ชิ้น 4 หลา
-ผ้าไหมปักลาย 900 บาทขึ้นไป/ชิ้น 4 หลา
-รับตัดผ้าไหม ชุดละ 1,300-1,500 บาท
-ผ้าไหมพิมพ์ลาย 300 – 400 บาท/หลา

2. ร้านปิยวรรณผ้าไหม
60 ถ.มหาดไทยบำรุง ต.ระแหง อ.เมือง จ.ตาก
มือถือ 084-6222455

ผลิตภัณฑ์ :
-ผ้าไหมมัดหมี่ 1,300-1,500 บาท/4 หลา
-ผ้าไหมพื้น 1,200-1,400 บาท/4 หลา
-ผ้าไหมปักลาย 1,500-1,800 บาท/4 หลา
-ชุดผ้าไหมสตรี 1,000-1,500 บาท
-เสื้อบุรุษ 500 บาท
-ผ้าไหมพิมพ์ลาย 1,500 บาท/4 หลา

3. ร้านมนตรีผ้าทอ
16/10 ถ.สายเอเชีย อ.แม่สอด จ.ตาก 63110
โทร 055-531897 055-533085 มือถือ081-8879091

ผลิตภัณฑ์ : 
-ผ้าไหมพิมพ์ลาย 1,700-2,700 บาท/4 หลา
-ผ้าไหมมัดหมี่ 1,700-2,500 บาท/4 หลา
-ผ้าพื้น 1,000-1,400 บาท/4 หลา
-ผ้าไหมปักลาย 1,700-2,500 บาท/4 หลา
-ชุดผ้าไหมสตรี 2,500-3,500 บาท
-เสื้อบุรุษ 1,000-1,300 บาท

4. ร้านสกาวไหมไทย
94/5-6 ถ.บ้านทุ่ง ต.แม่สอด อ.แม่สอด จ.ตาก 63110
055-535398 มือถือ 081-3155644
sakao@bluefm9875.com

ผลิตภัณฑ์ :
- ผ้าพื้น 300-400 บาท/เมตร
- ชุดผ้าไหมสตรี ชุดละ 4,000-8,000 บาท
- เสื้อบุรุษ ตัวละ 1,200-1,900 บาท
-ผ้าพันคอ 500-1,500บาท/ผืน
-กระเป๋า 400-800 บาท


จ. เพชรบูรณ์

1. บริษัทจุลไหมไทย จำกัด
442 หมู่ที่ 3 ถ.สามัคคีชัย ต.วังชมภู อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์
โทร 056-771555
http://www.chulthai.com/

ผลิตภัณฑ์ : 
-ถุงเท้าผ้าไหม ชาย-หญิง
-กระเป๋าหูหิ้ว กระเป๋าถือ และกระเป๋าใส่ธนบัตร
-ผ้าคลุมไหล่แม่ฟ้าหลวง
-กรอบรูปผ้าไหมขนาดเล็ก
-ไดอารี่ผ้าไหมหนังแท้
-กระเป๋าเครื่องสำอางค์
-ซองทิชชู่ผ้าไหม
-ซองแว่นตาผ้าไหม
-ผ้าพันคอ

กลุ่มทอผ้า และจำหน่ายผ้าไหม จ.เชียงใหม่

1. บริษัทเจ ที ซิลค์ จำกัด
399/234 หมู่3 หมู่บ้านศิริพรการ์เด้นโฮม 9 ต.สันนาเม็ง อ.สันทราย เชียงใหม่ 50210 www.goldenthaisilk.com
มือถือ 081-9938501, มือถือ: 081-9514664, แฟกซ์: 053-03807
goldenthaisilk@hotmail.com

ผลิตภัณฑ์ :
-รังไหมนวดหน้า 150 บาท
-ไหมก้อนบำรุงผิว 30 บาท
-เส้นไหมขัดผิว 30 บาท
-มาส์กหน้าไหม 150 บาท
-แผ่นบำรุงผิวคอไหม 100 บาท
-ปลัชขัดผิวไหม 600 บาท
-ผ้าพันคอ kabizo ใหญ่ 650-850 บาท
-ผ้าคลุมไหล่ 80 cm (kabizo) 2,500 บาท
-ผ้าพันคอ dijochi 1,200-2,800 บาท
-ผ้าพันคอถักโคเช 1,200 บาท
-หมวกไหม 900-2,500 บาท
-ชุดประโปรง 3,500 บาท
-เสื้อ 2,500 บาท
-หมอน 850-1,200 บาท
-ผ้าห่มไหมคิงไซส์ 22,000 บาท
-ผ้าห่มไหมเตียงเดี่ยว 12,000 บาท
เครื่องหมายรับรองมาตรฐานผ้าไหมไทย: นกยูงสีน้ำเงิน

2. ร้าน Classic model
118/5 หมู่ 12 ต.ป่าแดด อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50100
โทร. 053-279031

ผลิตภัณฑ์ :
-เสื้อสตรี 199-100,000 บาท
-เสื้อบุรุษ 2,000-5,000 บาท
-ที่รองแก้ว 150 บาท
-ที่รองจาน 300-500 บาท
-ผ้าคาดโต๊ะ 1,200-1,500 บาท
-กระเป๋า 1,800-5,000 บาท
-เข็มขัด 1,200-3,000 บาท
-ผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่ 150-8,500 บาท
เครื่องหมายรับรองมาตรฐานผ้าไหมไทย: นกยูงสีน้ำเงิน

3. หจก.ชินวัตรไหมไทย
145/1-2 ต.ต้นเปา อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ 50130

ผลิตภัณฑ์ :
-ผ้าไหม 500-800 บาท/เมตร
-เสื้อสำเร็จรูปชาย-หญิง 1,500-4,000 บาท
-เนคไท  500-1,200 บาท
-ผ้าพันคอ 250-1,800 บาท/ชิ้น
-ผ้าซิ่น 1,500-14,000 บาท/ชิ้น
-ของที่ระลึก 35-1,000 บาท
-เฟอร์นิเจอร์ 8,500-30,000 บาท

4. ร้านลัดดาวัลย์ผ้าไหมยกดอกล้านนา
จ.เชียงใหม่
โทร. 053-249780 มือถือ 081-9601013

ผลิตภัณฑ์ :
-ผ้าไหมยกดอก 5,000-35,000 บาท/ชิ้น
-ผ้าไหมโชว์โบราณ 75,000-150,000 บาท
-ผ้าซิ่น 2,500-7,500 บาท/ชิ้น
-ผ้าสไบ 1,200-2,500 บาท/ชิ้น
-ผ้าคาดโต๊ะ 2,500-7,500 บาท
-กระเป๋ามือถือ 100-500 บาท
-เสื้อผ้าสำเร็จรูปไหมแก้ว 1,500-2,500 บาท
เครื่องหมายรับรองมาตรฐานผ้าไหมไทย: นกยูงสีน้ำเงิน

5. โจลี่ฟาร์ม
8/3 หมู่ 1 ถ.เชียงใหม่ – สันกำแพง อ.เมือง จ.เชียงใหม่
โทร. 053-116777-9

ผลิตภัณฑ์ :
-ผ้าไหมพื้น 350-700 บาท/เมตร
-ผ้าไหมชุดยกดอก ตั้งแต่ 15,000 บาท
-ชุดสตรี 3,000-10,000 บาท
-เสื้อบุรุษ ตั้งแต่ 1,000 บาท
-ของที่ระลึก 35-300 บาท
-ปลอกหมอนอิง 3,000-10,000 บาท
-เนคไท 500-1,200 บาท

6. ร้านเพียรกุศล
จ.เชียงใหม่

ผลิตภัณฑ์ : 
-ผ้าไหมเมตร 500-800 บาท/เมตร
-เสื้อสำเร็จรูปชาย-หญิง 1,500-4,000 บาท
-เนคไท 500-1,200 บาท
-ผ้าพันคอ 250-1,800 บาท
-ผ้าซิ่น 1,500-14,000 บาท
-ของที่ระลึก 35-1,000 บาท
-เฟอร์นิเจอร์ 8,500-30,000 บาท

7. กลุ่มตัดเย็บผ้าไหมบ้านวังธาร
101/1 หมู่ 8 ต.ลวงเหนือ อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่

ผลิตภัณฑ์ :
-กระเป๋าสตรี 900 บาท
-กระเป๋าใส่เหรียญ 50-100 บาท
-ปลอกหมอน 900 บาท
-ที่รองจาน 1,000-2,000 บาท
-ผ้าคลุมเตียง 12,000 บาท

8. ร้านทองไหมไทย
27 ถนนท่าแพ ซอย 3 ตำบลช้างคลาน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
โทรศัพท์ : 081-5312446, 053-271563
FAX : 053-275422

ผลิตภัณฑ์ : 
-ผ้าชุดยกดอก 6,500-15,000 บาท
-ผ้าซิ่นยกดอก 3,900-6,900 บาท
-ผ้าสไบ 1,200-3,500 บาท
-ผ้าคลุมไหล่ 950-6,500 บาท
-ตุ๊กตาผ้าไหม  250-950 บาท
-ผ้าคาดโต๊ะ 3,500 บาท
-ผ้ารองจาน  1,500 บาท
-ผ้าแขวนโชว์ 3,500-19,000 บาท
-ผ้าพื้น  350 บาท/หลา
-ผ้าไหมแก้ว 390 บาท/หลา
เครื่องหมายรับรองมาตรฐานผ้าไหมไทย: นกยูงสีน้ำเงิน

9. ร้านสิรตาบาติก
141/126 หมู่บ้านธารทิพย์วิลล่า ต.สันกลาง อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่
โทร. 053-338239 มือถือ 081-8832799

ผลิตภัณฑ์ :
-ผ้าพันคอไหมบาติก 250-500 บาท
-ผ้าคลุมไหล่ไหมบาติก 450-1,000 บาท
-ผ้าชุดไหมบาติก 4 เมตร 2,500 บาท
-เสื้อเชิ้ตบาติก 1,200 บาท

กลุ่มทอผ้า และจำหน่ายผ้าไหม จ. เชียงราย พะเยา และน่าน

 จ.เชียงราย


1. กลุ่มทอผ้าไหมบ้านห้วยเคียน หมู่ 10
114 หมู่ 10 ต.ทุ่งก่อ อ.เวียงเชียงรุ้ง จ.เชียงราย
โทร. 089-7585573

ผลิตภัณฑ์ :
-ผ้าคลุมไหล่ 350-400 บาท/ผืน
-ผ้าพันคอ 250-300 บาท/ผืน
เครื่องหมายรับรองมาตรฐานผ้าไหมไทย: นกยูงสีน้ำเงิน

2. กลุ่มทอผ้าบ้านเนินไทรพัฒนา
26 หมุ่ 13 ต.ป่าซาง อ.เวียงเชียงรุ้ง จ.เชียงราย
โทร. 084-1750619

ผลิตภัณฑ์ :
-ผ้าคลุมไหล่ 400-500 บาท/ผืน
-ผ้าพันคอ 250-300 บาท/ผืน
เครื่องหมายรับรองมาตรฐานผ้าไหมไทย: นกยูงสีน้ำเงิน

3. กลุ่มผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมครบวงจรบ้านสันธาตุ
149 หมู่ 4 ต.โยนก อ.เชียงแสน จ.เชียงราย
โทร. 086-9379193

ผลิตภัณฑ์ :
-ผ้าคุลมไหล่ 400-500 บาท/ผืน
-ผ้าพันคอ 250-300 บาท/ผืน
เครื่องหมายรับรองมาตรฐานผ้าไหมไทย: นกยูงสีน้ำเงิน 


จ. น่าน

1. กลุ่มทอผ้าบ้านดอนไชย
103 หมู่ 3 ต.ศิลาแลง อ.ปัว จ.น่าน
โทร.081-3667323

ผลิตภัณฑ์ :
-ผ้าพันคอ 800-900 บาท/ผืน
-ผ้า 4 ตะกอ 400 บาท/เมตร
-ผ้าซิ่น 600 บาท/เมตร
-ผ้าซิ่นสำเร็จรูป 1,200 บาท/ผืน
เครื่องหมายรับรองมาตรฐานผ้าไหมไทย: นกยูงสีเขียว

2. กลุ่มทอผ้าบ้านเฮี้ย
141 หมู่ 1 ต.ศิลาแลง อ.ปัว จ.น่าน
โทร. 081-4733627

ผลิตภัณฑ์ : 
-ผ้าพันคอ 800-900 บาท/ผืน
-ผ้า 4 ตะกอ 400 บาท/เมตร
-ผ้าซิ่น 600 บาท/เมตร
-ผ้าซิ่นสำเร็จรูป 1,200 บาท/ผืน
เครื่องหมายรับรองมาตรฐานผ้าไหมไทย: นกยูงสีเขียว

ขั้นตอนการทอผ้าไหมแพรวา

การทอผ้าไหมแพรวาก็เหมือนกับการทอผ้าชนิดอื่นที่ต้องใช้อุปกรณ์ช่วยในการทอที่คล้ายๆกัน แต่แตกต่างกันที่ การทอผ้าไหมแพรวาเป็นการทอด้วยการขิดไหมด้วยมือเข้าช่วย ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้

1. การค้นเส้นยืน
เป็นวิธีการเตรียมเส้นยืนในการทอผ้า โดยนำเส้นไหมที่ลอกกาว และย้อมสีแล้วมาทำการค้นเครือหูกหรือที่เรียกว่า การค้นเส้นยืน เริ่มต้นด้วยการนำเส้นไหมไปสวมเข้าในกงเพื่อทำการกรอเส้นไหมเข้าอัก จากนั้นทำการค้นเส้นยืนโดยใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า หลักเฝือ เดินเส้นยืนเพื่อจัดเรียงเส้นไหมตามความกว้างของผืนผ้าหรือขนาดฟืม นับจำนวนเส้นยืนโดยใช้ซี่ไม้มาคั่นเพื่อมิให้สับสน และป้องกันการผิดพลาดในการนับ

2. การเตรียมฟืมทอผ้า
ทำการค้นเส้นไหมในลักษณะเดียวกันกับเส้นยืน จากนั้นนำเส้นด้ายมาร้อยกับฟืมโดยการร้อยผ่านช่องฟันหวีแต่ละช่อง โดยแต่ละช่องจะมีเส้นไหมประมาณ 2 เส้น และนำท่อนไม้ไผ่เล็กๆสอดเข้าในห่วงเส้นด้ายที่ร้อยเข้าช่องฟันหวีเพื่อทำการขึงเส้นด้ายให้ตึง และจัดเรียงเส้นด้ายให้เรียบร้อย ส่วนด้านหน้าของฟืมก็จะมีช่องไม้ไผ่เช่นเดียวกันกับด้านหลังเพื่อขึงเส้นด้ายให้ตึง จากนั้นทำการเก็บตะกอฟืมแบบ 2 ตะกอ ซึ่งเรียบร้อยจะได้ชุดฟืมทอผ้าสำหรับการทอ

สำหรับการทอที่มีการทอต่อเนื่อง จะใช้วิธีการสืบเครือหูกจากฟืมที่มีการเก็บตะกอไว้แล้วจากการทอครั้งก่อน โดยนำเส้นไหมยืนมาผูกกับเส้นยืนเดิมจนครบทุกเส้น แล้วจัดเรียง และขึงให้ตึงก็พร้อมที่จะทอได้

ก่อนการทอ ก็เหมือนกับการทอผ้าชนิดอื่นๆที่ต้องนำน้ำแป้งข้าวหรือน้ำแป้งมัน ชุบด้วยผ้า และทาให้ทั่วบนเส้นยืน แล้วปล่อยให้แห้ง หลังจากนั้นทาด้วยไขขี้ผึ้งทับอีกครั้งเพื่อให้เกิดความลื่นขณะทอ

3. การเตรียมเส้นพุ่ง
นำเส้นไหมที่ผ่านการย้อมสีแล้วมากรอเข้าหลอดด้ายสำหรับใส่กระสวยในการทอ

4. การเก็บตะกอลายหลัก
เป็นการทำลวดลายหลักบนผืนผ้าแพรวาโบราณ โดยใช้ไม้สานเก็บลาย ทั้งนี้ลายหลักของผ้าแต่ละผืนจะมีไม่เท่ากันซึ่งหากมีหลายลายอาจต้องใช้ไม้เก็บลายหลายร้อยอัน

5. การทอลวดลายไหมแพรวา
เป็นการทอลวดลายตลอดการทอทั้งผืนผ้าด้วยวิธีการขิด จากการจก และเก็บลายด้วยไม้ยกลายเพื่อยกเส้นยืนพร้อมจกด้วยนิ้วก้อยยกเส้นยืนขึ้น พร้อมสอดเส้นไหมสีต่างๆ เป็นช่วงๆ ตามลวดลายที่ออกแบบไว้ ครั้งละ 2 เที่ยวเพื่อให้ลายเกิดความนูนเด่น สลับกับการเหยียบไม้ตะกอฟืม และการสอดพุ่งกระสวย

ลายผ้าไหมแพรวา

ผ้าไหมแพรวาเป็นผ้าไหมที่มีถิ่นกำเนิด และเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรรมของชาวภูไท ในแถบจังหวัดกาฬสิน นครพนม มุกดาหาร และสกลนคร ซึ่งเดิมตั้งแต่สมัยในอดีตที่เริ่มการทอเป็นเพียงการทอเพื่อใช้เป็นผ้าสไบที่ย้อมด้วยสีธรรมชาติในโทนสีเข้ม เช่น เปลือกไม้ ครั่ง เป็นต้น แต่ปัจจุบันมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย และใช้สีเคมีในโทนสีที่หลากหลายมากขึ้น ซึ่งมุ่งทางด้านการค้า
เป็นหลัก

การทอผ้าไหมแพรวาใช้วิธีเก็บลายด้วยการขิดลาย และการจกทำลวดลายบนผืนผ้าโดยใช้นิ้วก้อยในการล้วงเกาะ และยกเส้นยืน พร้อมสอดเส้นไหมสีต่างๆเป็นช่วงๆ ตามลายที่ออกแบบไว้ ทำให้เกิดความหลากหลายของลวดหลาย และเฉดสีหลายรูปแบบตามความต้องการ และสามารถแก้ไขได้ง่ายหากเกิดความผิดพลาดในการออกแบบหรือการทอ

จุดเด่น และความเป็นเอกลักษณ์ของผ้าไหมแพรวา คือ ลวดลาย และสีสันที่โดดเด่น และหลากหลาย ซึ่งผ้าผืนหนึ่งสามารถมีลวดลาย และสีได้มากกว่า 10 ลักษณะ

สำหรับลายผ้าไหมแพรวาจะประกอบด้วย3 ส่วน คือ ส่วนลายหลัก ลายคั่น และลายเชิงผ้า
1. ส่วนลายหลัก เป็นลายผ้าที่อยู่ส่วนกลางของผืนผ้า และมีพื้นที่มากที่สุด
2. ส่วนลายคั่น เป็นลายที่คั่นระหว่างลายหลักกับลายเชิงผ้า มีพื้นที่น้อยที่สุดของผืนผ้า มีลักษณะเป็นเส้นลายตัดขวางในแนวนอนของทั้งลายหลัก และลายเชิงผ้า
3. ส่วนลายเชิงผ้า เป็นส่วนที่อยู่ขอบริมผ้า มีพื้นที่มากกว่าลายคั่นเล็กน้อย

ลายผ้าไหมแพรวาทั้ง 3 ส่วน มักทอด้วยลายโบราณที่ประกอบด้วยรูปทรงเลขาคณิตต่างๆ

อุปกรณ์สำหรับทอผ้าไหมมัดหมี่
1. เส้นไหม ใช้ไหมที่ผ่านการลอกกาว และย้อมสีตามสีที่ออกแบบไว้
2. หลักเฝือ เป็นอุปกรณ์สำหรับค้นเส้นยืนให้เป็นระเบียบ เพื่อเตรียมเส้นยืนก่อนเข้าฟืมเพื่อการทอ
3. กง เป็นอุปกรณ์จัดเรียงเส้นไหมให้เป็นระเบียบ
4. อัก เป็นอุปกรณ์สำหรับม้วนกรอ เก็บเส้นไหมให้เป็นระเบียบที่ได้จากการจัดเรียงจากกง
5. ไนหรือหลา เป็นอุปกรณ์สำหรับเส้นไหมที่ได้จากการเตรียมจากกงเพื่อกรอใส่หลอดด้ายไหม
6. ตะกอหรือเขา เป็นอุปกรณ์ที่ประกอบด้วยเชือก มีบ่วงหรือรูตรงกลางสำหรับร้อยเส้นยืน และไม้สำหรับยึดเส้นด้ายตะกอไว้ทั้งด้านบน และด้านล่างของบ่วงตะกอ เพื่อแยกเส้นยืนให้เป็นช่องสำหรับสอดเส้นพุ่งในการทอ
7. หลอดด้าย ใช้สำหรับกรอเก็บเส้นไหมให้ เพื่อใส่ในกระสวยทอผ้า
8. กระสวย เป็นอุปกรณ์สำหรับใส่หลอดด้าย เพื่อพุ่งกระสวยในการทอผ้า
9. ฟืมหรือฟันหวี เป็นอุปกรณ์สำหรับจัดเรียงเส้นไหมให้เป็นชุดๆหรือลำ สำหรับการขัดเส้นด้ายไหมขณะทอ
10. ไม้คันผัง เป็นอุปกรณ์ไม้ไผ่ที่ใช้ค้ำยันขอบริมด้านกว้างทั้งสองด้านให้ตึง
11. ไม้ลาย เป็นไม้ไผ่กลม ใช้สำหรับสานเก็บลายขิด
12. ไม้เก็บลายเป็นไม้แบน ขนาดกว้าง 6-7 เซนติเมตร ยาวประมาณ 1 เมตร ด้านปลายข้างหนึ่งมีลักษณะเรียว ใช้สำหรับสอดค้ำเส้นไหมตามที่เก็บขิดลายไว้
13. ไม้ยกลาย มีลักษณะเป็นไม้แบนคล้ายไม้เก็บลาย แต่กว้างกว่า ยาวประมาณ 1 เมตร ใช้สำหรับการยกค้ำเส้นไหมเพื่อการสอดนิ้วก้อย

ขั้นตอนการทอผ้าไหมมัดหมี่

การทอผ้าไหมมัดหมี่ ประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ ดังนี้
1. การค้นเครือเส้นยืน
นำเส้นไหมยืนที่ทำการลอกกาวไหม และทำการย้อมสีพื้นเส้นไหมแล้วเข้ากงเพื่อกรอเส้นไหมเข้าอัก แล้วนำเส้นไหมที่กรอด้วยอักนำเข้าหลักฟืมเพื่อค้นเส้นยืนเตรียมการทอ

2. การเตรียมฟืมทอผ้า
นำเส้นยืนที่ค้นเครือเสร็จแล้วมาจัดเรียงเข้าฟันหวี โดยให้แต่ละช่องประกอบด้วยเส้นไหมประมาณ 2 เส้นหรือตามความต้องการ พร้อมขึงเส้นด้ายให้ตึง จัดเรียงเส้นด้ายให้เรียบร้อยร้อย และเก็บตะกอ

สำหรับการทอต่อเนื่อง ที่มีการเก็บตะกอไว้แล้วจะใช้วิธีการสืบเครือหูก โดยนำเส้นยืนมาผูกกับเส้นด้ายเดิมที่ได้เก็บตะกอฟืมไว้ก่อนแล้ว ด้วยการผูกแต่ละเส้นด้ายตามลำดับให้ครบทุกเส้น พร้อมทำการจัดเส้นยืน ตะกอ และฟืมบนกี่ทอผ้าให้เรียบร้อย พร้อมทอตะกอที่เหลือในช่วงการต่อเส้นด้ายให้เรียบร้อยจนหมดจนเริ่มเส้นด้ายที่ต่อใหม่ทั้งหมด เพื่อให้เส้นยืนที่จะเริ่มทอตึง แน่น

เมื่อจัดเรียงเส้นยืนเรียบร้อย ให้นำน้ำแป้งข้าวหรือน้ำแป้งมันสำปะหลังฉีดพรมหรือใช้ผ้าชุบทาให้ทั่วเส้นไหม พร้อมปล่อยให้แห้ง และทาด้วยขี้ผึ้งหรือไขสัตว์ เพื่อให้เส้นด้ายมีความแข็งแรง และลื่น ไม่ขาดง่ายหรือเป็นขุยจาการเสียดสีขณะการทอ

3. การเตรียมเส้นพุ่ง
3.1 การค้นเส้นพุ่ง
นำเส้นไหมที่ลอกกาวแล้ว มาค้นเส้นพุ่งโดยใช้โฮงมัดหมี่โบราณที่เป็นไม้มีหลัก 2 หลัก โดยการค้นเส้นพุงแต่ละลายจะมีจำนวนลำไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับลาย เช่น ลายหมี่ข้อโบราณจะมีลำประมาณ 41 ลำ โดยแตละลำจะมี 4 เส้นด้าย โดยการทำไพคั่นตรงกลางระหว่างลำไว้ การค้นเส้นพุงจะทำการค้นประมาณ 2 รอบ ของแต่ละลำไปกลับ เมื่อทำการค้นเสร็จแล้วให้ทำการมัดหัวลำตามไพที่คั่นไว้
3.2 การมัดหมี่
การมัดหมี่เป็นกระบวนการมัดตามจุดจากลายที่ออกแบบด้วยเชือกฟางหรือเชือกชนิดอื่นๆ แต่ปัจจุบันนิยมใช้เชือกฟางเพราะหาซื้อง่าย และสะดวกกว่า หลังจากนั้นนำเส้นไหมออกจากโฮงมาย้อมสีตามครั้งของเฉดสีที่ต้องการหรือตามการที่มัดหมี่ไว้ โดยบริเวณที่มัดหมี่ไว้จะไม่ติดสี สำหรับการย้อมซ้ำต้องย้อมหลังการนำเส้นไหมที่ย้อมครั้งแรกตากแดดให้แห้งเสียก่อน

การมัดหมี่เริ่มด้วยการมัดเก็บขาว โดยการมัดหมี่แบ่งเป็น 2 วิธี คือ
1. การมัดลายทุกลายในหัวหมี่เดียวกัน
2. การมัดแยกแต่ละลายในหัวหมี่แล้วนำมาต่อในขั้นตอนการทอผ้า

3.3 การกรอเส้นไหมเข้าหลอด
โดยการนำหัวมัดหมี่ที่แกะเชือกฟางออกแล้วใส่ในกงเพื่อกรอเส้นไหมเข้าอัก จากนั้นทำการกรอเส้นไหมจากอักเข้าหลอดด้ายด้วยไน ซึ่งจะต้องเรียงลำดับหลอดด้ายตามหลายลายสีที่ออกแบบไว้

4. การทอผ้ามัดหมี่
การทอผ้าไหมจะเริ่มเมื่อเตรียมฟืม และเส้นพุ่งเสร็จแล้ว โดยใช้หลอดด้ายที่เรียงลำดับเฉดสีหรือลายไว้แล้วใส่ในกระสวยเพื่อทอด้วยการพุ่งกระสวยผ่านร่องสลับของลำไหมไปมา ซ้ายขวา จนสุดเส้นยืน

สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอเชิญร่วมประกวดผลิตภัณฑ์สิ่งทอเชิงสร้างสรรค์ ครั้งที่ 1

สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอขอเชิญผู้ผลิตสิ่งทอ และผู้สนใจเข้าร่วมประกวดผลิตภัณฑ์สิ่งทอเชิงสร้างสรรค์ ครั้งที่ 1 (Creative Textile Award 2014) โดยแบ่งเป็นผลิตภัณฑ์สิ่งทอสำหรับแฟชั่น และLifestyle Product ภายใต้หัวข้อ Green textiles หรือ Innovative textiles ที่มุ่งเน้นผลงานที่ผสมผสานความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบร่วมกับงานวิจัยในการพัฒนาจากภาคการเกษตรสู่ภาคอุตสาหกรรม


ลักษณะผลงานที่ส่งประกวด
เป็นผลิตภัณฑ์แฟชั่น และผลิตภัณฑ์ Lifestyle ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน โดยมีความโดดเด่น น่าสนใจ อาจเป็นเพียง 1 ชิ้นงานหรือมากกว่า โดยมีลักษณะเป็นคอลเลคชั่นที่เกี่ยวเนื่องกัน

คุณสมบัติผู้เข้าประกวด
- นักออกแบบ
- นักศึกษาด้านการออกแบบ
- เป็นทีมระหว่างนักออกแบบกับผู้ประกอบการ (ไม่น้อยกว่า 2 คน/ทีม)

ข้อมูลประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการ
- ผู้เข้าประกวดต้องเลือกระหว่าง Green textiles หรือ Innovative textiles เพียงหัวข้อใดหัวข้อหนึ่ง
- ต้องใช้วัตถุดิบที่กำหนดไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ส่วนวัตถุดิบอื่นๆ ร้อยละ 40
- เทคนิค วิธีการผลิต ขนาด ราคาค่าใช้จ่าย
- ลักษณะผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ที่ไม่มีการผลิตมาก่อน
- แบบร่างผลงาน 3 D พร้อมระบุขนาด
- ประสบการณ์ของผู้เข้าประกวด

เงื่อนไขการประกวด
- ส่งผลงานได้เพียง 1 ผลงาน/ทีมหรือรายบุคคล
- ผลงานที่ส่งเข้าประกวดต้องทำจากผ้า ขนาด 10 เมตร หากใช้มากกว่าผู้ประกวดต้องหาเพิ่มเอง
- ต้องนำส่งผลงานต่อคณะกรรมการภายในวันที่ 19 กรกฏาคม 2557 และจัดแสดงผลงานในวันที่ 24-25 กันยายน 2557
- การตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด
- ผู้ประกวดที่ส่งผลงานเข้าประกวดถือว่าเป็นผู้ยอมรับเงื่อนไขการประกวด กรรมการขอสงวนสิทธิ์ในการตัดสินหรือยกเลิกสำหรับผลงานที่ถูกร้องเรียนการละเมิดลิขสิทธิ์จริง
- สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ถือเป็นผู้มีสิทธิ์เผยแพร่ผลงาน

กำหนดการ
- เปิดรับสมัคร                                                             6-27 ก.พ. 2557
- สัมมนาผู้เข้าประกวด                                                  6 ก.พ. 2557
- นำเสนอผลงานแบบวาดต่อคณะกรรมการ                       12 พ.ค. 2557
  และตัดสินรอบแรก
- ผู้ได้รับการคัดเลือกรับวัตถุดิบ                                      15 พ.ค. 2557
  และคำแนะนำจากคณะกรรมการ
- ผู้ได้รับการคัดเลือกนำเสนอผลงาน                               17 ก.ค. 2557
  ต่อคณะกรรมการ- มอบรางวัล และจัดนิทรรศการ              24-25 ก.ย. 2557 

สถาบันพัฒนาสิ่งทอ ขอเชิญร่วมสัมมนา เรื่อง เส้นใยธรรมชาติไทยพัฒนาอย่างไรสู่อนาคต (Thai Eco Fibers : Spin to the Future)


สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ขอเชิญร่วมสัมมนา เรื่อง เส้นใยธรรมชาติไทยพัฒนาอย่างไรสู่อนาคต (Thai Eco Fibers : Spin to the Future) ภายใต้ความร่วมมือของ
1. กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
2. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
3. สถาบันค้นคว้า และพัฒนาผลผลิตทางการเกษตร และอุตสาหกรรมการเกษตร
4. สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ

ณ ห้องสุรศักดิ์1 ชั้น 11 โรงแรมอิสติน แกรนด์สาทร กรุงเทพฯ

วันพฤหัสบดี ที่ 6 กุมภาพันธ์ 2557
เวลา 08.30 น. - 16.00 น.
ณ ห้อง สุรศักดิ์ 1 ชั้น 11
โรงแรม อิสติน แกรนด์สาทร

หัวข้อสัมมนา และการบรรยาย
1. บรรบายพิเศษ เรื่อง เส้นใยธรรมชาติในกระแสโลก โดย รศ.ดร. ทวีชับ อรศักดิ์ชัย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เวลา 10.30-12.00 น. 
2. เสวนา เรื่อง เส้นใยธรรมชาติไทยพัฒนาอย่างไรสู่อนาคต โดยคุณ อภิญญา บุญยะประนัย ผู้ประกาศข่าว และพิธีกรช่อง 5 เวลา 11.00-12.00 น. 
3. เสวนา เรื่อง Innovative Textile Award มิติใหม่ของการออกแบบ โดย ผชช. สุพัตรา ศรีสุข และฐิติพร ญาณวังศะ ที่ปรึกษาโครงการ เวลา 13.15-14.30 น. 
4. บรรบายพิเศษ เรื่อง Design Trend Forward แนวทางการออกแบบในอนาคต โดยคุณ กิตติรัตน์ ปิติพานิช ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริม และพัฒนาการออกแบบ (TCDC) เวลา 14.45-15.45 น.  

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 02-713-5492-9 ต่อ 406 , 401 และ 400 โทรสาร 02-712-4526 ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย