การย้อมสีเส้นไหม

การย้อมเส้นไหมในปัจจุบันนิยมใช้สีเคมีเนื่องจากกรรมวิธีที่ย้อมง่าย สีมีความคงทน และให้เฉดสีที่สดใสกว่าการย้อมสีธรรมชาติ แต่ก็มีบางพื้นที่ที่มีการย้อมสีธรรมชาติซึ่งขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้าบ้างเป็นบางครั้งคราว สำหรับขั้นตอนในการย้อมมักใช้สารที่ช่วยในการติดสีเพื่อเพิ่มการติดสี และป้องกันการย้อมด่างหรือให้สีมีความคงทนต่อการซักล้าง

การใช้สารช่วยติดสี (Mordant)
สารช่วยติดสี (Mordant) หรือชาวบ้านในบางพื้นที่ เรียกว่า สารกันด่าง เป็นสารเคมีที่ช่วยเพิ่มการย้อมติดสีบนเส้นใยเพื่อป้องกันการย้อมด่าง และป้องกันสีตกเมื่อมีการซักรีด ตัวติดสีนี้เป็นสารประกอบที่ช่วยให้เส้นไหมสามารถดูดซึมน้ำสีได้

สารช่วยติดสีที่รู้จัก และนิยมใช้กันทั่วไปแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. ตัวติดสีที่เป็นสารเคมีสามารถหาซื้อได้จากร้านขายเคมีภัณฑ์จะเป็นสารเคมีเมื่อละลายน้ำจะมีลักษณะลื่นมีจำหน่ายตามร้านขายอุปกรณ์ เคมีภัณฑ์ที่เกี่ยวกับการย้อมผ้าทั่วไป โดยจะมีคุณสมบัติช่วยในการแทรกซึมของน้ำย้อมให้เข้าสู่ภายในเส้นใยได้มากขึ้น แต่หากหาซื้อไม่ได้อาจใช้สบู่แทนก็ได้

2. ตัวติดสีที่มีอยู่ในธรรมชาติ โดยทั่วไปผู้ย้อมจะใช้ตัวติดสีจากธรรมชาติ เช่น ใช้โคลนหรือน้ำ
บาดาลแทนสนิมเหล็ก และใช้ใบไม้ ผลไม้ เปลือกไม้ แทนตัวติดสีอื่น ๆ เช่น การใช้ใบเหมือนแอ ใบเหมือด ใบส้มเลี้ยว ใบส้มป่อย ใบมะขาม และด่างขี้เถ้า เป็นต้น

การใช้ตัวติดสีในการช่วยย้อมจะแบ่งเป็น 3 ลักษณะคือ
1. การใช้ตัวติดสีก่อนย้อมเช่นสารส้ม
2. การใช้ตัวติดสี พร้อม ๆ กับการย้อม เช่น สารส้ม มะขาม และใบไม้ต่าง ๆ
3. การใช้ตัวติดสีหลังการย้อม เช่นโคลน น้ำบาดาล และน้ำด่างเป็นต้น

นอกจากนั้น การใช้สารช่วยติดสีอาจใช้มากกว่า 1 สาร ร่วมกันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการย้อมติดสีให้มากขึ้น

หลักทั่วไปในการย้อมสีเส้นไหม มีดังต่อไปนี้
1. วัสดุ และอุปกรณ์
- ภาชนะขนาดความจุ 35 ลิตร ขึ้นไป
- ไหมผ่านการลอกกาว 1 กิโลกรัม
- ผงกันด่าง (เป็นสาร Wetting agent) 30 กรัม ( 1 กรัม/ลิตร) มีจำหน่ายซองละ 5 บาท 
- สีย้อมเคมี (สีแอสิด) จำนวน 2 ซอง
- น้ำ 30 ลิตร (อัตราส่วนระหว่างไหมต่อน้า 1:30)

2. การเตรียมน้ำย้อม และการย้อม
- ตั้งภาชนะ และอุ่นน้ำให้ร้อนเล็กน้อย โดยใช้น้ำประมาณ 30 ลิตร
- ละลายสีย้อมเคมีประมาณ 2 ซอง พร้อมสารกันด่าง คนให้สีย้อมละลายจนเป็นเนื้อเดียวกัน
- เพิ่มความร้อนให้น้ำอุ่นประมาณ 50 องศา หรือสัมผัสให้รู้สึกอุ่น
- ใส่ไหมที่ผ่านการลอกกาวพร้อมกวนให้ไหมอิ่มน้ำย้อม
- ค่อยๆเร่งไฟ และเพิ่มความร้อนจนเกือบเดือด พร้อมคนไหมเป็นระยะ นานประมาณ 1 ชั่วโมง
- นำไหมออกจากหม้อย้อม วางไว้ให้เย็นสักระยะ
- นำไหมที่ได้ไปล้างน้ำอุ่น 2 ครั้ง น้ำธรรมดา 2 ครั้ง ไห้สะอาด แล้วนำไปตากแดดให้แห้ง
- หม้อต้มสีย้อมสามารถย้อมซ้ำไหมได้อีกหนึ่งหรือสองครั้งหรือตามที่ต้องการ เพียงเติมสีย้อมเพิ่มเติมก็ทำให้ได้ความเข้มข้นที่ต้องการ

กลุ่มทอผ้า และจำหน่ายผ้าไหม จ. นครราชสีมา

1. ร้านมัชดาไหมไทย 
118/2 หมู 7 ต. นอกออก  อ. ปกธงชัย จ. นครราชสีมา
โทร. 081-9764378 

ผลิตภัณฑ์ :
-ผ้าพื้น
-ผ้าไหมมัดหมี่
-ผ้าลาย
-ผ้าพิมพ์

 
ราคา 200-700 บาท/เมตร
เครื่องหมายรับรองมาตรฐานผ้าไหมไทย: นกยูงสีน้ำเงิน

2. กลุ่มหัตถกรรมผ้าไหมบ้านดู่ 
24 หมู 6 ต.หนองขาม อ.จักราช จ. นครราชสีมา 
โทร. 044-451245

ผลิตภัณฑ์ :
-ผ้าพื้น
-ผ้าไหมมัดหมี่
-ผ้าลาย

 
ราคา 500-700 บาท/เมตร
เครื่องหมายรับรองมาตรฐานผ้าไหมไทย: นกยูงสีน้ำเงิน

3. กลุ่มแปรรูปผ้าไหมบ้านหนองปี๊ด 
หมู่ 6 ต. หนองขาม อ. จักราช จ. นครราชสีมา
โทร.087-9633069 

ผลิตภัณฑ์ :
-ผ้าพื้น
-ผ้าไหมมัดหมี่

 
ราคา 500-600 บาท/เมตร
เครื่องหมายรับรองมาตรฐานผ้าไหมไทย: นกยูงสีน้ำเงิน

4. ร้านแต๋วไหมไทย 
377 หมู1 ต. สามเมือง อ.สีดา  จ.นครราชสีมา
โทร.044-284614

ผลิตภัณฑ์ :
-ผ้าพื้น
-ผ้าลาย

 
ราคา 700-900 บาท/เมตร
เครื่องหมายรับรองมาตรฐานผ้าไหมไทย: นกยูงสีน้ำเงิน นกยูงสีเงิน นกยูงสีทอง

5. กลุ่มแม่บ้านทอผ้าไหมบ้านแฝกโนนสำราญ 
237 หมู 4 ต.สามเมือง อ.สีดา จ.นครราชสีมา

ผลิตภัณฑ์ :
-ผ้าพื้น
-ผ้าไหมมัดหมี่
-ผ้าหางกระรอก
 
ราคา 1,000-1,500 บาท/เมตร
เครื่องหมายรับรองมาตรฐานผ้าไหมไทย: นกยูงสีน้ำเงิน

6. บริษัทเมืองย่า ซิลเค่น (ประเทศไทย) จำกัด 
39 บานวังดูหมู 8 ต. เมืองปก อ. ปกธงชัย จ. นครราชสีมา
โทร.044-283454

ผลิตภัณฑ์ :
-ผ้าพื้น
-ผ้าไหมมัดหมี่
-ผ้าหางกระรอก
 
ราคา 700-1,000 บาท/เมตร
เครื่องหมายรับรองมาตรฐานผ้าไหมไทย: นกยูงสีน้ำเงิน

7. กลุ่มแม่บ้านเกษตรคีมมะอุสวนหม่อน 
 62/1 หมู่ 3 บานคีมมะอุ ต. หนองหวา อ. บัวลาย จ. นครราชสีมา
โทร.089-9495788

ผลิตภัณฑ์ :
-ผ้าพื้น
-ผ้าไหมมัดหมี่
ราคา 500-600 บาท/เมตร
เครื่องหมายรับรองมาตรฐานผ้าไหมไทย: นกยูงสีน้ำเงิน


8. ร้านสมบัติไหมไทย 
 62/1 หมู่ 3 บานคีมมะอุ ต. หนองหวา อ. บัวลาย จ. นครราชสีมา
โทร.089-9495788

ผลิตภัณฑ์ :
-ผ้าพื้น
-ผ้าลาย
ราคา 300-500 บาท/เมตร
เครื่องหมายรับรองมาตรฐานผ้าไหมไทย: นกยูงสีน้ำเงิน

9. กลุ่มหม่อนไหมบ้านหนองม่วง
111 หมู 12 ต. หนองมะนาว อ. คง จ. นครราชสีมา
โทร.087-8784782

ผลิตภัณฑ์ :
-ผ้าพื้น
-ผ้าลาย
-ผ้าคลุมไหล่ 
ราคา 800-1,000 บาท/เมตร
เครื่องหมายรับรองมาตรฐานผ้าไหมไทย: นกยูงสีน้ำเงิน

10. นางบุปผา ปะเทสัง
73 หมู่ 11 ต.หลุ่งประดู่ อ.ห้วยแถลง จ.นครราชสีมา
โทร.089-5826025
ผลิตภัณฑ์ :
-ผ้าพื้น
-ผ้าไหมมัดหมี่
-ผ้าลาย
ราคา 800-900 บาท/เมตร
เครื่องหมายรับรองมาตรฐานผ้าไหมไทย: นกยูงสีน้ำเงิน


11. กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มหม่อนไหมบ้านหนองม่วง 2
111 หมู่ 12 ต.หนองมะนาว อ.คง จ.นครราชสีมา
โทร.087-8784782


ผลิตภัณฑ์ :
-ผ้าพื้น
-ผ้าลาย
-ผ้าคลุมไหล่


ราคา 800-1,000 บาท/เมตร 

เครื่องหมายรับรองมาตรฐานผ้าไหมไทย: นกยูงสีน้ำเงิน

12. นางทองมี จ้อยจะโปะ
200 หมู่ 6 ต.เมืองปัก อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา
โทร. 044-451894

ผลิตภัณฑ์ :
-ผ้าพื้น
-ผ้าคลุมไหล่

ราคา 500-700 บาท/เมตร
เครื่องหมายรับรองมาตรฐานผ้าไหมไทย: นกยูงสีน้ำเงิน


13. กลุ่มทอผ้าไหมย้อมสีธรรมชาติบ้านหนองแสง
68 หมู่ 7 ต.หลุ่งปะดู่ อ.ห้วยแถลง จ.นครราชสีมา
โทร. 087-2557834


ผลิตภัณฑ์ :
-ผ้าพื้น
-ผ้าไหมมัดหมี่
-ผ้าลาย


ราคา 800-1,000 บาท/เมตร

เครื่องหมายรับรองมาตรฐานผ้าไหมไทย: นกยูงสีทอง นกยูงสีเงิน  และนกยูงสีน้ำเงิน

14. นายสุเมธ พุทธวงษ์
518 หมู่ 1 ต.เมืองปัก อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา
โทร. 044-441168


ผลิตภัณฑ์ :
-ผ้าพื้น
-ผ้าลาย
-ผ้าไหมแก้ว


ราคา 400-600 บาท/เมตร

เครื่องหมายรับรองมาตรฐานผ้าไหมไทย: นกยูงสีน้ำเงิน

15. ศูนย์พัฒนาภูมิปัญญาอาชีพปักธงชัย
64 หมู่ 1 ต.ธงชัยเหนือ อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา
โทร. 044-283728


ผลิตภัณฑ์ :

-ผ้าพื้น
-ผ้าไหมมัดหมี่
-ผ้าลาย


ราคา 500-700 บาท/เมตร 

เครื่องหมายรับรองมาตรฐานผ้าไหมไทย: นกยูงสีน้ำเงิน 

16. ร้านอรุณเรื่องไหมไทย
611/25 หมู่ 10 ต.เมืองปัก อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา
โทร. 081-9553904


ผลิตภัณฑ์ :
-ผ้าพื้น
-ผ้าไหมมัดหมี่


ราคา 500-700 บาท/เมตร

เครื่องหมายรับรองมาตรฐานผ้าไหมไทย: นกยูงสีน้ำเงิน

ผ้าไหมกาบบัว เอกลักษณ์ผ้าไหมเมืองอุบล

ผ้าไหมกาบบัวถือเป็นเอกลักษณ์ของการทอผ้าไหมของจังหวัดอุบลราชธานี โดยมีการประกาศตัวของการเป็นเจ้าของแห่งเอกลักษณ์ผ้าไหมกาบบัวเมื่อประมาณปี 2543  โดยมีความโดดเด่นของผ้าไหมหลายประการที่นำเอาวิธีการทอผ้าไหมหลากหลายวิธีเข้ามาประกอบในผ้าผืนเดียว ออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ซึ่งเอกลักษณ์หลายอย่างประกอบเข้าด้วยกัน อาทิ


1. มีเส้นยืนซึ่งย้อมอย่างน้อยสองสีตามลักษณะของผ้าซิ่นทิว
2. ทอด้วยเส้นพุ่งโดยการปั่นเกลียวแบบหางกระรอก
3. มีการทอแบบมัดหมี่
4. มีการทอแบบขิด
5. มีการทอแบบจก

ขั้นตอนการย้อมผ้าไหมกาบบัว
1. การเตรียมเส้นไหม
การเตรียมเส้นใยไหมเป็นการทำความสะอาดไหมโดยการลอกกาวไหมออกก่อนที่จะนำไปย้อมสีต่างๆตามประเภทของการทอหรือความต้องการตามลวดลาย และเฉดสี เช่น การย้อมโทนสีเดียว และการย้อมมัดหมี่เพื่อให้ได้หลายเฉดสีในเส้นด้ายเดียวกันตามลวดลายที่ได้ออกแบบไว้

2. การย้อมสีไหม
เมื่อผ่านการเตรียมเส้นไหมแล้ว เส้นไหมที่ได้จะมีลักษณะสีขาวนวลสามารถย้อมติดสีได้ดีจึงพร้อมที่จะนำมาย้อมสีได้ โดยใช้ขั้นตอนการย้อมสีเส้นไหม สำหรับสีย้อมที่ใช้นิยมใช้สีเคมีหรือสีธรรมชาติ สำหรับการย้อมจะทำการย้อมโดยใช้โทนสีเดียวหรือย้อมหลายโทนสี (การย้อมมัดหมี่) ทั้งนี้ขึ้นกับความต้องการของผลิตภัณฑ์ 

3. การทอหรือการต่ำหูก
การทอผ้าไหมเป็นการนำเส้นพุ่งใส่ในกระสวยเพื่อใช่สำหรับการยิงเส้นพุ่งขัดกับเส้นยืนที่เตรียมไว้ในเครื่องทอที่เรียกว่าหูก ทำการทอโดยการสอดกระสวยเส้นพุงไปมาสลับกับการเหยียบฟืม 1 ครั้ง เพื่อให้เส้นพุ่งขัดสลับกับเส้นยืนตามลวดลายที่ออกแบบไว้

4. การเก็บขิด
การเก็บขิด คือการงัดหรือการซ้อนเส้นยืนให้นูนขึ้นเพื่อให้เกิดลวดลายตามที่ออกแบบไว้มีลักษณะคล้ายกับการยกดอกเพื่อให้เกิดลวดลาย แต่จะใช้ไม้เป็นอุปกรณ์ในการงัดหรือซ้อนเพื่อให้เส้นยืนนูนขึ้น 


การเก็บขิดโดยใช้ไม้
 

การทอผ้าไหมกาบบัวปกติจะใช้เวลาประมาณ 1-3 เดือน แล้วแต่ลวดลาย และขนาดที่ทำการทอ เมื่อทอสำเร็จสามารถนำมาตัดเย็บขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ อาทิ เสื้อผ้า ปลอกหมอน และใช้ตกแต่งผลิตภัณฑ์ หรือตกแต่งเฟอร์นิเจอร์ได้อย่างสวยงาม หรือจำหน่ายเป็นผ้าทั้งผืน ซึ่งจะอยู่ที่ราคาเมตรละ 400-1000 บาท หรือมากกว่านั้น ขึ้นอยู่กับลวดลาย และความยากง่ายของการทอ

ตลาดผ้าไหมไทยบนโลกอินเตอร์เน็ต

ในสมัยที่มีการทอผ้าไหมเริ่มแรก ตลาดผ้าไหมไทยยังมีการพัฒนาอยู่ในกลุ่มผู้ทอผ้าไหมเท่านั้น ซึ่งการซื้อขายยังอยู่ในวงแคบ มีการซื้อขายกันเฉพาะผู้ที่นิยมในพื้นที่เท่านั้น และปริมาณการทอที่ยังไม่มากบวกกับเทคโนโลยียังล้าสมัยจึงทำให้ไม่เป็นที่รู้จักกันมากนัก ภายหลังในช่วงสมัยรัตนโกสินเริ่มมีการส่งเสริมกลุ่มผู้ทอผ้าไหมมากขึ้น อีกทั้งเริ่มมีนายทุนชาวต่างชาติเข้ามาลงทุน นำผ้าไหมไทยส่งขายออกต่างประเทศ ทำให้ผ้าไหมไทยเริ่มเป็นที่รู้จักของชาวต่างชาติมากขึ้น ซึ่งในช่วงดังกล่าวมีการพัฒนาการทอผ้าไหมถึงขั้นเป็นอุตสาหกรรมในสมัยนั้นเลยทีเดียว

สำหรับในปัจจุบัน ตลาดผ้าไหมไทยได้มีการยกระดับคุณภาพขึ้นมาก จากการส่งเสริมของภาครัฐบาล และที่สำคัญจากหน่วยงานขององค์พระราชนีที่ทรงตั้งศูนย์ศิลปาชีพขึ้นมา ทำให้การทอผ้าไหมมีความหลากหลาย และมีความโดดเด่นมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันมีการพัฒนาทั้งในภาคครัวเรือน และบางส่วนมีการทอเป็นอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกโดยเฉพาะ ทั้งนี้ ตลาดผ้าไหมในประเทศไทย มีการส่งเสริมในกลุ่มผู้ทอผ้าไหม และขยายเป็นที่รู้จักกันมากขึ้น ด้วยการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ ซึ่งในบางท้องที่มีการเปิดร้านขนาดเล็กสำหรับขายผลิตภัณฑ์จากผ้าไหมโดยเฉพาะ แต่ก็มีข้อจำกัดเป็นอย่างมาก หากลูกค้าที่อยู่ไกลในต่างพื้นที่ที่มีความสนใจ จึงทำให้เป็นข้อจำกัดอย่างหนึ่งในการเพิ่มโอกาสในการขาย บางแห่งอาจมีลูกค้าเข้าเพียงแค่รายสองรายในหนึ่งเดือนเท่านั้น

เป็นที่สังเกตว่าในช่วงหลัง เริ่มมีการพัฒนาทางด้านการตลาดโดยเพิ่มช่องทางเพิ่มมากขึ้นทางด้านการประชาสัมพันธ์ต่างๆ ทั้งนี้ การตลาดของผ้าไหมไทยบนโลกอินเตอร์เน็ตซึ่งถือเป็นที่จับตามองไม่แพ้กัน ด้วยข้อได้เปรียบในหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นด้านการลงทุนในสื่อประชาสัมพันธ์ที่แทบไม่มีค่าใช้จ่ายเลยทีเดียว อีกทั้งการทำตลาดบนโลกอินเตอร์เน็ตยังสามารถสื่อประชาสัมพันธ์ได้ในวงกว้าง ไม่ใช่แค่ภายในประเทศเท่านั้น ซึ่งต่างประเทศสามารถเข้าอ่าน และศึกษาผลิตภัณฑ์ได้ตามความต้องการสำหรับแนวทางในการพัฒนาการตลาดบนโลกออนไลน์นั้นมีแนวทางหลายทางที่ไม่ต้องทุนให้มากมาย  ได้แก่

1. การสร้างเว็บไซต์ประชาสัมพันธ์สินค้า สามารถสร้างได้ 2 รูปแบบ คือ
- การสร้างเว็บไซต์และจดโดเมน และเช่าพื้นที่โฮส ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่าย
- การสร้าง Blog เว็บไซต์ฟรีในการประชาสัมพันธ์สินค้า โดยใช้ Blog ฟรีจากค่าต่างๆ เช่น Google หรือ Blog ฟรีของไทย 

วิธีการโปรโมทสินค้าด้วยการสร้างเว็บไซต์ ทั้ง 2 แบบ ข้างต้น จำเป็นต้องมีการโปรโมทเว็บไซต์ให้เป็นที่รู้จักด้วยรูปแบบต่างๆ เช่น การโพสในเว็บไซต์อื่นๆ การแจกใบปลิว การบอกต่อ เป็นต้น จึงจะทำให้ให้คนทั่วไปทราบถึงเว็บไซต์ และรู้จักผลิตภัณฑ์ตามมา

2.  การประชาสัมพันธ์สินค้าผ่านตัวแทนผู้โฆษณาในระบบอินเตอร์เน็ต ซึ่งมีทั้งบริษัทคนไทย และต่างประเทศ แต่ปัจจุบันคนไทยนิยมใช้บริการของ Google โดยตรง ภายใต้การบริการ Google Adwords เพราะโฆษณาจะขึ้นผ่านหน้าค้นหาของ Google โดยตรง หรือขึ้นแสดงผ่านเว็บไซต์ที่เป็นพันธมิตรกับ Google ซึ่งให้ผลอย่างมีประสิทธิภาพ

3. การลงประกาศตามเว็บไซต์ประกาศซื้อขายฟรีที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ซึ่งมีหลายเว็บไซต์ในเมืองไทย ในส่วนนี้จะเป็นการประชาสัมพันธ์สินค้าโดยตรงหรือการประชาสัมพันธ์สินค้าผ่านเว็บที่ได้จัดทำขึ้น

กลุ่มทอผ้า และจำหน่ายผ้าไหม จ. พิษณุโลก อุตรดิตถ์ แพร่

 จ. แพร่

1. ร้านเพื่อนแพง 
230 หมู 8 ต.หวยออ อ. ลอง  จ.แพร 
โทร. 054-581250 มือถือ 081-9520431

ผลิตภัณฑ์ :
-ผ้าไหมซิ่นจก ราคา 4,500-12,000 บาท/ซิ้น
-ผ้าซิ่นจกสอดดิ้น ราคา
12,000-25,000 บาท/ซิ้น
-ที่รองแก้ว ราคา 150 บาท

-ที่รองจาน ราคา 300-500 บาท  
-ผาคาดโต๊ะ ราคา 1,200-1,500 บาท
-กระเป๋า ราคา 1,800-5,000 บาท
-เข็มขัด ราคา 1,200-3,000 บาท
-ผาพันคอ ผาคลุมไหล่ ราคา 150-8,500 บาท
เครื่องหมายรับรองมาตรฐานผ้าไหมไทย: นกยูงสีน้ำเงิน

2. ร้านกาญจณาผ้าทอตีนขก 
73/7 หมู 5 ต. บานปน อ. ลอง  จ.แพร 
โทร. 054-581474 มือถือ 081-7839581

ผลิตภัณฑ์ :
-ผ้าไหมซิ่นตีนจก ราคา 3,500-15,000 บาท/ซิ้น
เครื่องหมายรับรองมาตรฐานผ้าไหมไทย: นกยูงสีน้ำเงิน

3. กลุ่มเรียนรู้ผ้าจกเมืองลอง และย้อมสีครามธรรมชาติ 
97/2 หมู 9 ต. หัวทุง อ. ลอง จ. แพร
โทร. 054-583433 มือถือ 081-9516639

ผลิตภัณฑ์ :
-ผ้าไหมซิ่นตีนจก ราคา 5,500-2,500 บาท
-ผ้าคลุมไหล่ ราคา 2,000-5,000 บาท
-หมอนตกแต่งจกไหม ราคา 1,200-1,500 บาท 
เครื่องหมายรับรองมาตรฐานผ้าไหมไทย: นกยูงสีน้ำเงิน

4. ร้านอัญชลีไหมไทย 
9 หมู 2 บานทุงสมาน ต. เตาปูน อ. ลอง จ. แพร
โทร. 054-591049

ผลิตภัณฑ์ :
-ผ้าซิ่นยกไหม ราคา 1,500-3,500 บาท
-ผ้าซิ่น ผ้ายก ราคา 6,500-1,800 บาท
เครื่องหมายรับรองมาตรฐานผ้าไหมไทย: นกยูงสีน้ำเงิน

5. ร้านกมลผ้าโบราณ 
157/2 หมู 6 ต. หวยออ อ. ลอง จ. แพร 
โทร. 054-581532 มือถือ 081-8079960

ผลิตภัณฑ์ :
-ผ้าซิ่นตีนจกโบราณ ราคา 3,500-25,000 บาท
-ผ้ายกไหม ราคา 28,000-55,000 บาท
-เนคไท ราคา 500-2,500 บาท-ผ้าคลุมไหล่ ราคา 550 บาท


 จ. พิษณุโลก

1. นายสราวุฒิ สิทธิกูล
66/2 ถ.วงจันทร์ ต.ในเมือง อ.เมือง จ. พิษณุโลก 65000
โทร. 055-244038 มือถือ 086-9283527
ผลิตภัณฑ์ :
-ผ้าซิ่นมัดหมี่ 2,500-15,000 บาท/ชิ้น
-ผ้าซิ่นจก 12,000-50,000 บาท/ชิ้น
-ผ้า 4 ตะกอ 1,200-2,500 บาท/เมตร
-ผ้าขิด 1,200-2,500 บาท/เมตร
-ผ้าพื้น 600-1,500 บาท/เมตร
-ผ้าขาวม้า 1,200-2,500 บาท/ชิ้น 

เครื่องหมายรับรองมาตรฐานผ้าไหมไทย: นกยูงสีทอง, สีเงิน, สีน้ำเงิน และสีเขียว


จ. อุตรดิตถ์

1. ร้านนัฐดา
1/6-7 ถ.เจษฎาบดินทร์ ต.ท่าอิฐ อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ 

โทร. 055-412224 มือถือ 081-0406648ผลิตภัณฑ์ :
-ผ้าซิ่นตีนจก 3,500-700 บาท/ชิ้น
-ผ้าซิ่นจกโบราณ 7,000-15,000 บาท/ชิ้น
-ผ้าคลุ่มไหล่ 1,500-2,500 บาท/ชิ้น
-ผ้าไหมลายน้ำไหล 4,500-6,000 บาท/ชิ้น

เครื่องหมายรับรองมาตรฐานผ้าไหมไทย: นกยูงสีทอง, สีเงิน, สีน้ำเงิน และสีเขียว

2. นายจงจรูญ มะโนคำ
64 หมู่ 4 บ้านคุ้ม ต.ชัยชุมพล อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์


ผลิตภัณฑ์ :
-ผ้าซิ่นตีนจก 3,500-12,000 บาท/ชิ้น
-ย่ามจก 500-1,500 บาท/ชิ้น
-ผ้าคลุมไหล่ 1,500-3,500 บาท/ชิ้น

เครื่องหมายรับรองมาตรฐานผ้าไหมไทย: นกยูงสีทอง, สีเงิน, สีน้ำเงิน และสีเขียว

3. กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแม่บ้านเกษตรกรน้ำใสใต้
139/1 หมู่ 9 ต.ชัยชุมพล อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ 53130
โทร. 055-450631 มือถือ 081-3793247

ผลิตภัณฑ์ :
-ผ้าซิ่นตีนจก
-ผ้าย่ามจก
เครื่องหมายรับรองมาตรฐานผ้าไหมไทย: นกยูงสีทอง, สีเงิน, สีน้ำเงิน และสีเขียว

ลายผ้าไหมมัดหมี่

ลายผ้าไหมมัดหมี่เป็นลายผ้าไหมดั้งเดิมที่มีถิ่นกำเนิดในภาคอีสาน ลายผ้าไหมมัดหมี่เกิดจากการมัดเส้นไหมด้วยเชือกหรือฟางตามจุดที่จะให้มีลายตามที่ได้ออกแบบไว้ แล้วนำมาย้อมสี ตรงส่วนที่มีการมัดหมี่จะไม่ติดสีย้อม ส่วนที่ไม่มัดหมี่จะติดสีตามที่ต้องการ พร้อมทำการย้อมสีหลายครั้งตามเฉดสีของลาย เมื่อนำมาทอเป็นผืนจะเกิดลวดลายตามที่ออกแบบไว้ ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะให้เกิดความงดงาม

โดยลายผ้ามัดหมี่มักจะผสมผสานกับคตินิยมของกลุ่มคนนั้นๆ ผ้าไหมมัดหมี่ถือเป็นผ้าไหมที่มีถิ่นกำเนิดในภาคอีสาน ลวดลายต่างๆ จะถูกคิดค้นขึ้น ซึ่งมักจะได้แรงบันดาลใจมาจากชีวิตประจำวัน และรูปแบบวัฒนธรรมของถิ่นอาศัยที่สามารถสื่อออกมาเป็นรูปภาพได้ สำหรับลายผ้าไหมมัดหมี่ในภาคอีสานมีด้วยกันหลายลายแตกต่างกันในแต่ละท้องที่ ตามวัฒนธรรมที่โดดเด่น โดยมีมากกว่า 200 ลาย ซึ่งจะมีการเรียกชื่อแตกต่างกันในแต่ละท้องถิ่น

ลายผ้าไหมมัดหมี่อาจแบ่งออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ ได้แก่
1. ลายผ้าไหมพื้นเมือง เป็นลายผ้าดั้งเดิม และเป็นลายพื้นฐานที่มักปรากฏบนผ้าทอเกือบทุกประเภท มีลักษณะเป็นรูปทรงเลขาคณิตต่างๆ เช่น สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม เป็นต้น


2. ลายผ้าไหมเกี่ยวกับสัตว์ เกิดจากแรงบันดาลใจที่ได้พบเห็นสัตว์หรือสัตว์ที่เป็นเรื่องเล่าในวรรณคดี ต่างๆแล้านำมาประยุกต์จำทำเป็นลวดลายประกอบบนผืนผ้า อาทิ ลายแมงป่อง ลายแมงมุม ลายนกยูง ลายไก่ ลายสิงโต ลายช้าง เป็นต้น ลายไก่ ลายช้าง ลายพญานาค ลายนกยูง เป็นต้น


3. ลายผ้าไหมเกี่ยวกับพืช ต้นไม้ เป็นลวดลายที่เกิดจากแรงบันดาลใจจากวิถีชีวิตของคนในสมัยก่อนที่มักจะผูกพัน กับพืชพันธุ์ต่างๆเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นต้นไม้ต่างๆ พืชอาหาร เป็นต้น ซึ่งมักจะถูกนำมาเติมแต่ง และประยุกต์ใช้เป็นลวดลายบนผืนผ้าไหม เช่น ลายดอกไม้ ลายใบไม้ เป็นต้น

4. ลายผ้าไหมแบบผสม เป็นลวดลายที่เกิดจากการผสมผสานของลายพื้นเมือง ลายสัตว์ ลายพืช อย่างใดอย่างหนึ่งเข้าด้วยกัน


อุปกรณ์สำหรับทอผ้าไหมมัดหมี่
1. โฮงค้นหมี่ และมัดหมี่ เป็นอุปกรณ์สำหรับค้นหรือจัดเรียงเส้นไหมให้เป็นระเบียบ และทำการมัดหมี่ในขั้นตอนการมัดหมี่ตามจุดของลวดลายที่เตรยมไว้ มีลักษณะเป็นเสาเล็ก 2 เสา ที่มีแผ่นไม้เป็นฐานเดียวกัน มีระยะห่างระหว่างเสาสัมพันธ์กับผืนผ้าที่ต้องการทอ และมีขนาดสัมพันธ์กับฟืมทอผ้า
2. กง เป็นอุปกรณ์จัเรียงเส้นไหมให้เป็นระเบียบ
3. อัก เป็นอุปกรณ์สำหรับม้วนกรอ เก็บเส้นไหมให้เป็นระเบียบที่ได้จากการจัดเรียงจากกง
4. หลอดด้ายไหม ใช้สำหรับกรอเก็บเส้นไหมให้เป็นม้วนเล็กสำหรับใส่ในกระสวยทอผ้า
5. กระสวย เป็นอุปกรณ์สำหรับใส่หลอดด้ายไหมสำหรับพุ่งกระสวยทอผ้า
6. ไนหรือหลา เป็นอุปกรณ์สำหรับเส้นไหมที่ได้จากการเตรียมจากกงเพื่อกรอใส่หลอดด้ายไหม
7. ฟืมหรือฟันหวี เป็นอุปกรณ์สำหรับจัดเรียงเส้นไหมให้เป็นชุดๆ สำหรับการขัดเส้นด้ายไหมขณะทอ
8. หลักเฝือ เป็นอุปกรณ์สำหรับค้นเส้นยืนให้เป็นระเบียบ มีลักษณะเป็นไม้ประกอบสี่เหลี่ยม ซึ่งด้านในแนวตั้งจะมีตะขอไม้สำหรับไขว้เส้นด้ายไปมาให้ได้เส้นยืนที่มีความยาวตามต้องการ

อ่านเพิ่มเติม ขั้นตอนการทอผ้าไหมมัดหมี่

กลุ่มทอผ้า และจำหน่ายผ้าไหม จ. ลำพูน

1. ร้านมาลีไหมไทย 
92 หมู 9 ต.บานปวง อ.ทุงหัวชาง จ.ลําพูน
โทร. 053-596038 มือถือ 081-7833794

ผลิตภัณฑ์ :

-ผ้าไหมแก้ว ราคา 250-300 บาท/หลา
-ผ้าไหมชุดยกดอก ราคา 6,000-15,000 บาท
-ผ้าซิ่นยกดอก ราคา 3,000-3,500 บาท
-ผ้าไหมบาติก ราคา 350 บาท/หลา

เครื่องหมายรับรองมาตรฐานผ้าไหมไทย: นกยูงสีน้ำเงิน

2. ร้านดารณีไหมไทย 
178 หมู 4 ต. เวียงยอง อ. เมือง จ. ลําพูน
โทร. 053-530422 มือถือ 081-2871245

ผลิตภัณฑ์ :
-ผ้าชุดไหมยกดอก ราคา 6,000-25,000 บาท
-ผ้าไหมยกดอก ราคา 3,500-45,000 บาท
-ผ้าคลุมไหล่ ราคา 
3,500-4,000 บาท
-ผาไหมแก้ว ราคา 350 บาท/หลา

เครื่องหมายรับรองมาตรฐานผ้าไหมไทย: นกยูงสีน้ำเงิน

3. ร้านอำไพผ้าไหมยกดอกลำพูน  
69/1 หมู 1 ต. ตนธง อ. เมือง จ. ลําพูน
โทร. 053-534174 มือถือ 081-8266873 


ผลิตภัณฑ์ :
-ผาชุดไหมยกดอก ราคา 7,500-100,000 บาท
-ผ้าซิ่นไหมยกดอก ราคา 4,500 บาท
-ผ้าคลุมไหล่ ราคา 4,000 บาท
-ผาสไบ ราคา 3,000 บาท
-ผาพันคอ ราคา 400-450 บาท

เครื่องหมายรับรองมาตรฐานผ้าไหมไทย: นกยูงสีน้ำเงิน

4. ร้านเพ็ญศิริไหมไทย  
123 หมู 2 ต. เวียงยอง อ. เมือง จ. ลําพูน
โทร. 053-510524


ผลิตภัณฑ์ :
-ผาชุดไหมยกดอก ราคา 9,800-38,000 บาท
-ผ้าซิ่นไหมยกดอก ราคา 1,500-6,500 บาท

-ผ้าไหมแก้ว ราคา 420 บาท/หลา
-ผ้าไหมพื้น ราคา 470 บาท/หลา
-ผ้าคลุมไหล่ ราคา 4,800 บาท
-หมวก ราคา 450 บาท
-เนคไทไหมยกดอก ราคา 850 บาท
-ปลอกหมอนไหม ราคา 900-1,500 บาท
-เสื้อไหมบุรา-สตรี ราคา 1,500-2,800 บาท
-กรอบรูป ราคา 780 บาท 
-ผ้าไหมบาติก ราคา 1,800-2,500 บาท
-หมอนไหมใบชา ราคา 350 บาท
-ผ้าไหมบาติก ราคา 1,800-2,500 บาท
-กระจกพก ราคา 150 บาท
-ที่รองแก้ว ราคา 450 บาท/ชุด
-กล่องทิชชู ราคา 450 บาท
-กางเกงเล ราคา 1,800 บาท
-ผ้าไหมบาติก ราคา 1,800-2,500 บาท
-ผ้าปูแต่งโต๊ะ ราคา 1,200 บาท

5. ร้านลำพูนผ้าไหมไทย 
8/2 ถ. จิตรตวงคพันรังสรรค ต.ในเมือง อ. เมือง จ. ลําพูน
โทร. 053-510329 มือถือ 081-2747577


ผลิตภัณฑ์ :
-สไบผ้าไหมยกดอก ราคา 950-1,200 บาท
-ผ้าคลุมไหล่ ราคา 
6,500-15,000 บาท
-ผ้าซิ่น ราคา 1,200-2,800 บาท
-ผาชุดไหมยกดอก ราคา 6,900-15,000 บาท
เครื่องหมายรับรองมาตรฐานผ้าไหมไทย: นกยูงสีน้ำเงิน

6. ลำพูนไทยซิลค์
259 ม.4 ต.ศรีบัวบาน  อ.เมือง  จ.ลำพูน

e-mail: info@thaisilk.th.com
www.thaisilk.th.com
โทร 053-551-1120, fax: 053-551-121


ผลิตภัณฑ์ : 
-ผ้าชุดยกดอก 6,500-15,000 บาท
-ผ้าซิ่นยกดอก 3,900-6,900 บาท
-ผ้าสไบ 1,200-3,500 บาท
-ผ้าคลุมไหล่ 950-6,500 บาท
-ตุ๊กตาผ้าไหม 250-950 บาท
-ผ้าคาดโต๊ะ 3,500 บาท
-ผ้ารองจาน 1,500 บาท
-ผ้าแขวนโชว์ 3,500-19,000 บาท
-ผ้าพื้น 350 บาท/หลา
-ผ้าไหมแก้ว 390 บาท/หลา

เครื่องหมายรับรองมาตรฐานผ้าไหมไทย: นกยูงสีน้ำเงิน

7. พรรณีฝ้ายไหมไทย
48 แม่สารบ้านตอง หมู่ 4 ตำบลเวียงยอง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน

โทรศัพท์ : 0-5353-0433, 081-0241339

ผลิตภัณฑ์ : 
-ผ้าชุดยกดอก 5,500-12,000 บาท
-ผ้าซิ่นยกดอก 3,500 บาท
-ผ้าคลุมไหล่ 1,800 บาท

เครื่องหมายรับรองมาตรฐานผ้าไหมไทย: นกยูงสีน้ำเงิน

8. ผ่องไหมไทย
57 ถ.ลำพูน-ดอยติ ม.4 ต.เวียงยอง อ.เมือง จ.ลำพูน
โทรศัพท์ 081-9988303


ผลิตภัณฑ์ : 
-ผ้าชุดไหมยกดอก 5,000-15,000 บาท
-ผ้าซิ่นไหมยกดอก 3,000-3,500 บาท
-ผ้าคลุมไหล่ 1,000-1,500 บาท


9. บุญเกียรติไหมไทย
207/1 รอบเมืองใน ต.ในเมือง อ.เมืองลำพูน จ.ลำพูน
โทรศัพท์ : 08-1883-4656
FAX : 0-5356-1207

ผลิตภัณฑ์ :
-ผ้าชุดไหมยกดอก 5,500-15,000 บาท
-ผ้าซิ่นไหมยกดอก 3,000-4,500 บาท
-ผ้าไหมแก้ 450 บาท/หลา
-ผ้าพันคอ 350 บาท
-ผ้าคลุมไหล่ 500-1,500 บาท

10. ปาริชาติไหมไทย
69 ดอนมูล หมู่ 8 ลี้-เสริมงาม ตำบลบ้านปวง อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน
โทร. 053-596042 มือถือ 084-7593689

ผลิตภัณฑ์ :
-ผ้าชุดยกดอก 7,500 -100,000 บาท
-ผ้าซิ่นยกดอก 4,500 บาท
เครื่องหมายรับรองมาตรฐานผ้าไหมไทย: นกยูงสีน้ำเงิน

สีแอสิด (Acid dyes)

สีแอสิด คือ สีย้อมเคมีหรือสีย้อมสังเคราะห์ชนิดหนึ่ง ซึ่งเมื่อละลายน้ำแล้วโมเลกุลสีจะมีประจุเป็นลบที่เรียกว่า สีแอสิด เนื่องจากสีชนิดนี้สามารถย้อมได้ดี และดูดซับได้รวดเร็วในสารละลายสีย้อมที่มีสภาพเป็นกรด โครงสร้างโมเลกุลของสีส่วนใหญ่เป็นเกลือโซเดียมของกรดอินทรีย์


สีแอสิดเหมาะสำหรับย้อมเส้นใยโปรตีน เช่น ไหม ขนสัตว์ และเส้นใยสังเคราะห์บางชนิด เช่น ไนลอน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
กลุ่มที่1 Levelling dyeing acid dyes
สีกลุ่มนี้สามารถกระจายตัวในน้ำได้ดี เพราะมีกระจายเป็นโมเลกุลไม่เกาะกันเป็นกลุ่มๆทำให้ได้ผลการย้อมสีสม่ำเสมอ การย้อมสีจะทำในสภาพเป็นกรดช่วง pH 2-3 โดยการใช้กรดแก่ เช่น กรดกำมะถัน และเนื่องจากเป็นสีที่มีอนุภาคขนาดเล็กขณะกระจายตัวในน้ำจึงสามารถดูดซับเส้นใยได้รวดเร็ว โดยทั่วไปจึงใช้ย้อมร่วมกับเกลือโซเดียมซัลเฟต (Glauber,s salt) ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวช่วยชลอการดูดซับสี สีกลุ่มนี้มีความคงทนต่อแสงดี แต่ความคงทนต่อการซักไม่ดี

กลุ่มที่ 2 Milling dyeing acid dyes
สีกลุ่มนี้กระจายตัวไม่ดี แต่ให้คุณสมบัติด้านความคงทนสูงต่อการซักกว่ากลุ่มแรก การย้อมจะได้ผลดีในสารละลายสีย้อมที่จุดเดือด ที่มีสภาพเป็นกรด ช่วง pH 5.2-6.2 การย้อมสีกลุ่มนี้ไม่จำเป็นต้องใช้ย้อมร่วมกับเกลือโซเดียมซัลเฟตเพราะ เมื่อ pH ของสารละลายสีย้อมมากกว่า 4.7 การเติมเกลือลงไปจะทำให้เร่งการดูดซับสี เกิดการย้อมติดสีไม่สม่ำเสมอ

กลุ่มที่ 3 Neutral dyeing acid dyes หรือ Super milling
เป็นสีที่จะกระจายตัวเป็นวุ้นที่อุณหภูมิต่ำ แต่ที่อุณหภูมิสูงเกือบจุดเดือดจะกระจายเป็นโมเลกุล สีกลุ่มนี้เป็นสีที่ย้อมให้ติดสม่ำเสมอได้ยาก การย้อมจะได้ผลดีในสารละลายสีย้อมที่มีสภาพเป็นกลางหรือเป็นกรดน้อยมากที่จุดเดือด โดยทั่วไปจะใช้ร่วมกับเกลือแอมโมเนียม  เช่น แอมโมเนียมอะซิเตต  หรือแอมโมเนียมซัลเฟต  ทำหน้าที่เป็นตัวช่วยชะลอการดูดซับและจับผิววัสดุ แต่ในบางกรณีอาจใช้เกลือโซเดียมซัลเฟตแทนก็ได้ สีกลุ่มนี้จะให้ความคงทนต่อแสงและการซักดี 

การย้อมติดสีของสีแอสิดจะเกิดกลไกการติดสีได้ดีเมื่อสารละลายน้ำย้อมมีสภาวะเป็นกรด โดยกลไกการดูดติดสีเกิดขึ้นระหว่างหมู่ NH2 ในเส้นใยไหมกับหมู่ซัลเฟตของสีย้อม NaO3S ด้วยอาศัย H+ จากสภาวะความเป็นกรดสารละลายสีย้อมให้แก่หมู่ NH2 เป็น NH3+



ตัวอย่าง โครงสร้างเคมีสีย้อม ACID
 

 
ตัวอย่าง การเกิดพันธะดูดติดสีระหว่าง NH3+ ของเส้นใยกับ SO3- ของสีย้อม

เส้นยืน และเส้นพุ่ง คืออะไร

เส้นด้ายที่ใช้สำหรับการทอผ้าโดยทั่วไปจะแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ

1.  เส้นยืน คือ เส้นด้ายชุดหนึ่งที่ขึงไว้กับกี่ตามแนวตั้ง โดยสอดผ่านช่องฟืม และตะกอที่โยงไว้กับกี่ และไม้เหยียบ ถ้าเป็นไหม เรียก ไหมยืนหรือไหมเส้นยืนหรือไหมเครือ ในการทอผ้า ช่างทอจะต้องเตรียมเส้นด้ายยืนเอาไว้ก่อนเสมอ โดยอาจมีความยาวหลายสิบเมตร ด้ายเส้นยืนมีความสําคัญในการทอผ้าไม่น้อยไปกว่าด้ายเส้นพุ่ง เมื่อเริ่มทอแล้วจะไม่สามารถเปลี่ยนด้ายเส้นยืนได้จนกว่าจะทอไปตลอดผืนเสร็จ

 เส้นยืนสีแดงที่ถูกติดตั้งบนกี่
ขั้นตอนการเตรียมเส้นยืน
1. คัดเลือกเส้นไหมทค่อนข้างเรียบ เส้นแข็งแรง เหนียว ขนาดเหมาะสม นำมาฟอกทำความสะอาด ลอกกาว และย้อมสีเส้นไหม  
2. ลงแป้ง และกรอเข้าหลอด โดยการนำเส้นไหมกรอเข้าหลอด  พร้อมลงแป้งก่อนกรอ ดังนี้ นำเส้นไหมที่ผ่านการย้อมสีที่แห้งสนิทแล้ว นำมาชุบน้ำ และลงแป้ง โดยอาจแช่ในน้ำข้าว หรือนำแป้งกลบไปมาให้เส้นไหมสัมผัสกับน้ำแป้ง จากนั้นนำขึ้นมาบีบน้ำออก และบดให้แห้ง กระตุกให้เส้นด้ายคลี่ตัวออก และไม่ติดกันจึงนำไปผึ่งให้แห้งสนิท เส้นไหมจะมีผิวเรียบ ต่อจากนั้นเอาเส้นไหมไปกรอเข้าหลอด   ระหว่างการกรอเข้าหลอดด้ายเส้นยืนซึ่งเป็นหลอดด้ายขนาดใหญ่  ต้องหมั่นตรวจสอบดูว่า เส้นด้ายสม่ำเสมอดีไม่มีรอยคอด ที่จะทำให้ด้ายขาดเร็ว และไม่มีปุ่มปมซึ่งจะเป็นอุปสรรคในการทอ ถ้ามีต้องเอาออก และต่อให้เรียบร้อย
3. การเดินด้าย หรือ โว้นเครือ เป็นขั้นตอนหลังจากกรอด้ายเข้าหลอดเรียบร้อยแล้ว เป็นการจัดวางเส้นยืนให้เป็นรูปโครงของผืนผ้า มีการคำนวณความกว้างยาวของผืนผ้าที่ต้องการทอ เพื่อสะดวกในการสอดฟันหวี โดยใช้เครื่องเดินด้าย (มาเดินด้าย) ซึ่งมีราวขนาดใหญ่พอดีสำหรับบรรจุหลอดเส้นด้ายไหม และแคร่สำหรับเดินด้าย ส่วนใหญ่สามารถเดินเส้นยืนได้ราว 200 หลา เมื่อเดินด้ายหรือโว้นเครือได้ความยาวตามต้องการเสร็จเรียบร้อยแล้วต้องปลดเส้นยืนออกมาจากแคร่ และขมวดให้เป็นลูกโซ่หรือถกเป็นเปีย เพื่อกันมิให้เส้นด้ายยุ่งพันกันหรือจะใช้วิธีเดินด้ายโดยไม่ใช้เครื่องก็ได
4. การหวี  คือ การแผ่เส้นจากลักษณะที่เป็นกำให้กระจายออก และเรียบสม่ำเสมอตามความกว้างของฟันหวีกับเครือเส้นยืน ในการหวีเส้นด้ายจำเป็นที่จะต้องใช้ผู้ปฏิบัติอย่างน้อย 2 คน คนหนึ่งม้วนกงพัน อีกคนหวีด้ายให้เรียบร้อยและสม่ำเสมอกัน
5. การร้อยฟันหวี (ร้อยฟืม) เป็นการร้อยเส้นยืนเข้าชองฟันหวี โดยวัดความยาวจากจุดกึ่งกลางของฟันหวีไปหาริม 2 ข้าง จากนั้น จึงร้อยเส้นยืนเข้าชองฟันหวีตามความกว้างที่ต้องการ แต่ละชองฟันหวีร้อยสอดเส้นยืน 2 เส้น จนหมดด้ายหรือครบทุกชอง ช่องริมๆ อาจสอดด้าย 4 เส้นเพื่อให้ริมผ้าแข็งแรง ไม่ม้วน  เมื่อเสร็จแล้วให้ผูกเข้ากับแกนของกงพันม้วนด้าย และนำไปขึงบนกี่เพื่อเก็บตะกอตอไป ควรเลือกฟันหวีที่มีขนาดชอง และความกว้างเท่าที่ต้องการ
6. การนำด้ายขึงบนกี่ เมื่อเรานำด้ายที่หวี และรอยฟันหวีเรียบร้อยตามความยาวที่ต้องการแล้ว มาขึงบนกี่ที่จะใช้ในการทอผ้า โดยให้ปลายด้ายเส้นยืน(ปลายเครือ)ด้านหนึ่งม้วนเข้ากับไม้ม้วนด้ายหรือเครื่องม้วนด้ายยืนด้านหน้า และปลายด้ายอีกด้านที่ติดกับฟืมให้ม้วนเข้ากับไม้ม้วนผ้าด้านหลัง ควรดึงให้ตึงเสมอกันตลอดแนวหน้าผ้าขณะม้วนปลายเส้นด้ายพันรอบไม้ 
7. การเก็บตะกอ และผูกโยงตะกอ การเก็บตะกอ คือ การจัดเส้นด้ายยืนให้สามารถถูกยกขึ้นหรือถูกกดลงได้อย่างเป็นระบบเพื่อให้สอดด้ายเส้นพุ่งเข้าไปได้ เป็นการเก็บลวดลายหรือแบบที่เราต้องการทอ  จะเก็บตะกอได้เมื่อเรานำด้ายที่จะทอขึงขึ้นบนกี่เสร็จเรียบร้อยแล้ว 

 2. เส้นไหมพุ่ง คือ เส้นด้ายที่พุ่งผ่านกระสวยที่ถูกกรอบนหลอดด้ายบรรจุในกระสวย โดยเส้นพุ่งจะพุ่งในแนวนอนจากซ้ายไปขวา และจากขวามาซ้ายผ่านเส้นยืนที่ยกสลับกันเมื่อเหยียบคานเหยียบ

การเตรียมเส้นพุ่งไม่ยุ่งยากเหมือนเส้นยืน ไม่ต้องลงแป้งเนื่องจากไม่ต้องเสียดสีกับฟันหวีมากเหมือนเส้นยืน การเตรียมเส้นพุ่ง มีขั้นตอนดังนี้ กรอเส้นด้ายหรือด้ายไหมที่ย้อมสีเรียบร้อยแล้วเข้าระวิง และอักตามลำดับ จากนั้นกรอจากอักเข้าหลอดโดยใช้หลาหรือไนเป็นอุปกรณ์ช่วยในการกรอด้ายเข้าหลอด (ซึ่งจะทำให้เส้นกลมเรียบมากขึ้นไปในตัว) หรือ อาจนำเส้นด้ายหรือเส้นไหมที่ย้อมสีแล้วมาควบ และตีเกลียวก่อนกรอเข้าหลอด  ควรกรอด้ายเข้าหลอดพอประมาณ คือไม่เต็มเกินไป จะทำให้ลำบากในการเข้ากระสวย และติดขัดได้ในการพุ่งสอดด้ายขณะทอผ้า



 เส้นพุ่งที่ถูกกรอไว้กับหลอดด้าย



กระสวยสำหรับใส่เส้นพุ่ง สอดพุ่งตามแนวนอนขัดกับเส้นยืน

การลอกกาวไหมหรือการฟอกไหม

การลอกกาวไหมหรือการฟอกไหม หมายถึง การทำความสะอาดเส้นใยไหมด้วยการกำจัดส่วนของ sericin ที่มีลักษณะเป็นสารสีเหลืองทึบหรือมีสีขาว (ไหมดิบมีทั้งสีเหลือง และสีขาวขึ้นกับสายพันธ์) ออกจากเส้นใยไหมเพื่อการเตรียมเส้นใยไหมก่อนที่จำนำมาย้อมสีต่างๆ ซึ่งถ้าหากไม่มีการกำจัดสารดังกล่าวออก หากนำมาย้อมก็จะทำให้เกิดการย้อมติดสีต่างๆได้ยาก โดยจะได้เส้นใยไหมที่ผ่านการลอกกาวจะมีลักษณะสีขาว มันวาว อ่อนนุ่ม สามารถย้อมติดสีต่างๆได้ดี

การลอกกาวไหมสามารถแบ่งออกเป็น 2 วิธี คือ
1. การลอกกาวไหมด้วยด่าง โดยการใช้สารเคมีจำพวกด่าง เช่น โซเดียมคาร์บอเนต โซเดียมไฮดรอกไซด์ เป็นต้น
2. การลอกกาวไหมด้วยกรด โดยการใช้สารเคมีจำพวกกรด เช่น กรดซัลฟูริก กรดไฮโดรคลอริก เป็นต้น ซึ่งไม่เป็นที่นิยมเพราะการใช้กรดทำให้เกิดการทำลายเส้นไหมมากกว่าการลอกกาวด้วยด่าง

ณ ที่นี้ ขอกล่า่วถึงการลอกกาวไหมด้วยด่างซึ่งเป็นที่นิยมของกลุ่มผู้ทอผ้าไหม

เครื่องมือ อุปกรณ์
1. ภาชนะขนาดความจุ 35 ลิตร ขึ้นไป
2. ไหมดิบ 1 กิโลกรัม
3. สบู่แท้หรือเทียม 150 กรัม ( 5 กรัม/ลิตร)
4. โซดาแอช (Na2CO3) หรือผงด่องไหม 60 กรัม ( 2 กรัม/ลิตร) มีจำหน่ายซองละ 5 บาท
5. ผงกันด่าง (เป็นสาร Wetting agent) 30 กรัม ( 1 กรัม/ลิตร) มีจำหน่ายซองละ 5 บาท 
6. น้ำ 30 ลิตร (อัตราส่วนระหว่างไหมต่อน้า 1:30)

ขั้นตอนการลอกกาวไหม
- เติมน้ำลงหม้อประมาณ 30 ลิตร ใส่สบู่เทียม และด่าง โซดาแอช ตามที่กำหนด
- ต้มน้ำในหม้อย้อม ใหเน้ำร้อนประมาณ 70 องศาเซลเซียส สังเกตุผิวน้ำในหม้อเกิดไอน้ำ
- นำเส้นไหม 1 กิโลกรัม ลงในหม้อ กดไหมให้จมน้ำ จนเส้นไหมมีลักษณะเปียกน้ำ และพองตัว
- ค่อยๆเพิ่มไฟ ให้อุณหภูมิเพิ่มขึ้นประมาณ 95 องศาเซลเซียส จนถึงเดือด และต้มเส้นไหมนาน 60 นาที
- นำเส้นไหมขึ้นมาวางทิ้งไว้ประมาณ 1 นาที เพื่อให้เย็นตัวลง ก่อนนำไปล้างน้าอุ่น 60-70 ประมาณ 2-3 นาที บิดหมาดๆ และกระตุก 2-3 ครั้ง
- นำไปล้างน้ำเย็น 2 ครั้ง ครั้งละ 2-3 นาที บิดหมาดๆ และกระตุก 2-3 ครั้ง
- นำไปตากแห้ง ประมาณ 3-4 วัน

สำหรับกลไกการลอกกาวไหมจะเกิดจากสภาวะของ sericin เมื่อถูกน้ำ และได้รับอุณหภูมิสูงจะเกิดการอ่อนตัว พร้อมกับในสารละลายจะเติมโซดาแอซทำให้เกิดสภาวะเป็นด่าง เกิดการละลายของ sericin ที่เป็นกาวเคลือบเส้นไหมหลุดออก นอกจากนั้นการเติมสารกันด่าง (ภาษาเรียกของชาวบ้าน)หรือสารจำพวก Wetting agent ที่ทำหน้าที่ช่วยนำพาสารละลายแพร่กระจายเข้าสู่ภายในเส้นใยได้ดีทำให้สามารถลอกกาวไหมได้อย่างหมดจด

 

 ซ้าย: ไหมที่ผ่านการลอกกาว 

ขวา: ไหมดิบสีเหลือง

สารละลายน้ำด่างในหม้อต้ม สามารถใช้ได้อีกครั้งด้วยการเติมด่าง และสารกันด่างเพิ่ม โดยไม่ต้องเททิ้ง